Climate action "ความยั่งยืน" ลงมือทำทันทีก่อนไม่มีวันพรุ่งนี้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและรูปแบบสภาพอากาศในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1800
กิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ซึ่งเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อสภาวะที่เรียกว่า "กักความร้อนของดวงอาทิตย์ไว้ในโลกไว้ทำให้อุณทหภูมิเพิ่มสูงขึ้น"
ข้อมูลจาก สหประชาชาติ ระบุว่า ในด้านภูมิอากาศได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อนเกือบทั้งหมดในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมของมนุษย์ดังที่กล่าวมาข้างต้นก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นเร็วกว่าครั้งใดๆ ในรอบอย่างน้อยสองพันปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกขณะนี้อุ่นขึ้นกว่าช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณ 1.1°C และอุ่นขึ้นกว่าครั้งใดๆ ในช่วง 100,000 ปีที่ผ่านมา ทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2563) เป็นช่วงที่มีอากาศอบอุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์
"หลายคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเป็นหลัก แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวเท่านั้น เนื่องจากโลกเป็นระบบที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่งจึงสามารถมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อื่นๆ ทั้งหมดได้"ดังนั้น การร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ต้องทำวันนี้ ตอนนี้ และเดี่ยวนี้ "
เนื่องจากผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ภัยแล้งที่รุนแรง การขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย พายุภัยพิบัติ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง ผู้คนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลต่อสุขภาพ ความสามารถในการปลูกอาหาร ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย และการทำงาน และมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเกาะเล็กๆ และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สภาวะต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการรุกล้ำของน้ำเค็มได้ก้าวหน้าไปถึงจุดที่ชุมชนทั้งหมดต้องย้ายที่อยู่ และความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการอดอยาก ในอนาคต คาดว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศจะเพิ่มขึ้น
ดังนั้นในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP 28) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประชุมระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะเป็นการสานงานต่อจากการประชุม COP26 ที่ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่เป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) และลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 40% ภายในปี พ.ศ. 2573(ค.ศ.2030)
สำหรับการประชุมCOP28 ประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่าถึงประเด็นการเจรจาที่สำคัญได้แก่ การประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST),การจัดทำเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Global Goal on Adaptation: GGA)
"เป้าหมายด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งภาคีประเทศกำลังพัฒนายังคงเรียกร้องให้เร่งระดมเงินให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ.2025 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC 2030) ให้บรรลุเป้าหมายตามที่แต่ละภาคีได้ให้คำมั่นไว้"
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนสำหรับการสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss & Damage Facility) เพื่อช่วยประเทศที่มีความเปราะบาง ลดการสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อย่างไรก็ตาม การกำหนดเป้าหมายเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่ การTake Action now ที่มากพอเพราะข้อมูลจากสหประชาชาติระบุว่า ประเทศต่างๆ มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 เพื่อรักษาภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 1.5°C ซึ่งการบรรลุสิ่งนี้หมายถึงการลดลงอย่างมากในการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้สำรวจแล้วจะต้องเก็บไว้อย่างนั้น เพื่อป้องกันระดับหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้สูงขึ้น
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเพราะภาคพลังงานนั้นปล่อยคาร์บอนมากที่สุดการเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ในธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็จะมีมาตรการบังคับจากต่างประเทศ อย่างการส่งสินค้าไปสหภาพยุโรป(อียู)ก็มีมาตราการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เพื่อปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของอียู แม้ปัจจุบันยังบังคับในวงจำกัด แต่คาดว่าจะมีการบังคับใช้จริงอย่างกว้างขวางเร็ววันนี้
"ตอนนี้ผู้ประกอบการก็ลงมือทำแล้ว ในหลายส่วนแม้ที่มาจากการลงมือทำเพราะกติกาทางการค้า แต่ในทางปฎิบัติการลงมือทำก็จะช่วยให้เป้าหมายลดผลกระทบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้"
หลายๆประเทศก็จะมีการนำมาตรการนี้ไปใช้ในการนำเข้าสินค้าแต่ประเทศ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตมีการลดคาร์บอนในการผลิตสินค้าลง หากผู้ประกอบการทำไม่ได้ก็ต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตชดเชย
ส่วนภาคการผลิตโดยรวมได้นำหลักการ Circular Economy มาใช้ รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน เพราะการลดปัญหาสภาพอากาศไม่ใช่แค่ไม่ปล่อยคาร์บอนเพื่อสร้างก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ต้องไม่เบียดเบียนใช้ทรัพยากรอย่างสุรุ่ย สุร่าย ด้วย
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้เราทุกคนกำลังอยู่ใน ยุค “ภาวะโลกเดือด” (Global Boiling)ซึ่งเป็นยุคของสภาพภูมิอากาศของโลกหลังจากความเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ที่รุนแรงมากขึ้นหลังการสิ้นสุดยุคของ “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) ดังนั้น การลงมือทำเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะทำให้โลกใบเก่าสดใสขึ้นได้นั้นต้องลงมือทำในทันที Take Action Now
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2567