แนวโน้มเศรษฐกิจโลก 2024 สะท้อนผลกระทบภาคธุรกิจไทย
สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกล่าสุดสำหรับปี 2024 สะท้อนภาพของภูมิทัศน์เศรษฐกิจของโลกที่ท้าทาย และผลกระทบในภาคธุรกิจไทย
ในปี 2024 มีแนวโน้มการเติบโตที่ช้า เศรษฐกิจกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ ยังคงดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากความสูญเสียที่เกิดจากการระบาด โดยหลายประเทศเผชิญกับหนี้สูงและการขาดแคลนการลงทุนในประเทศอีกทั้งยังมีผลกระทบจากปัญหาของสงครามในพื้นที่
ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก คาดว่าการเติบโต GDP ลดลง จาก 2.5% ในปี 2023 เป็น 1.4% ในปี 2024 การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ คาดว่าจะอ่อนตัวลงเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงและตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลง
ขณะที่จีน ท่ามกลางปัจจัยภายในและภายนอกที่ท้าทาย คาดการณ์ว่าจะมีการชะลอตัวอย่างปานกลาง โดยมีการเติบโตที่คาดการณ์ไว้ 4.7% ในปี 2024 ลดลงจาก 5.3% ในปี 2023 ยุโรปและญี่ปุ่นยังเผชิญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 1.2% สำหรับทั้งสองภูมิภาคในปี 2024
ประเทศกำลังพัฒนามีภาพที่แตกต่างกัน โดยทวีปแอฟริกาคาดว่าจะมีการเติบโตเล็กน้อยจาก 3.3% ในปี 2023 เป็น 3.5% ในปี 2024
รายงานระบุว่าประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) คาดว่าจะเติบโต 5.0% ในปี 2024 แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายการเติบโต 7.0% ที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หนี้ที่สูงและการขาดพื้นที่ทางการคลังยังคงเป็นปัญหาที่น่ากังวลสำหรับประเทศเหล่านี้
การชะลอตัวของการเติบโต GDP โลกและผลกระทบต่อประเทศไทย :
ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนต่างประเทศ: การชะลอตัวของการเติบโต GDP โลกมีแนวโน้มทำให้ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกและการลงทุนต่างชาติ เนื่องจากประเทศพาร์ทเนอร์หลักมีการเติบโตที่ช้าลง
สิ่งนี้อาจนำไปสู่การลดลงของรายได้จากการส่งออกและการลดลงของการลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากข้อมูลของการเติบโตในประเทศฝั่งทวีปแอฟริกา ทำให้เราอาจหาโอกาสทางการค้าด้านสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อส่งออกให้มากขึ้น
สภาวะการเงินที่ตึงตัว: อัตราดอกเบี้ยที่สูงและสภาวะการเงินที่ตึงตัวอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของธุรกิจและผู้บริโภคไทยในการกู้ยืมเงิน สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดการลดลงของการลงทุนภายในประเทศและการบริโภคซึ่งเป็นสองปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ
อีกทั้งการกู้ยืมสินเชื่ออสังหาเป็นไปได้ยาก ปัจจุบันการกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาราคาต่ำกว่า 3 ล้านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นเนื่องจากแบงค์ประเมินถึงความเสี่ยงของผู้ซื้อว่าอาจชำระหนี้ได้ยากขึ้น หมายความว่า ผู้ที่จะสามารถกู้ให้ผ่านได้ต้องมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 5หมื่นบาท มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจน
หากเป็นผู้ประกอบการต้องมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 5แสนบาทต่อเดือน และในปัจจุบันประชากรในประเทศส่วนใหญ่ติดหนี้จากสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกินความจำเป็นมากขึ้นทำให้ภาระในการผ่อนชำระหนี้มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก
ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาค: ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศพันธมิตรการค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย
อีกทั้งการแบ่งขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศที่มีการแข่งขันกัน ทำให้ประเทศไทยมีความยากลำบากมากขึ้นในการเลือกทำการค้ากับประเทศใดประเทศหนึ่งที่มากเกินไป
ความท้าทายของเศรษฐกิจกำลังพัฒนา: ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ไทยอาจเผชิญกับความท้าทายด้านหนี้ที่สูงและการขาดแคลนการลงทุน ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในประเทศ
ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนต่างประเทศ: การชะลอตัวของ GDP โลกอาจทำให้ประเทศไทยเห็นการลดลงของรายได้จากการส่งออกและการลดลงของการลงทุนต่างชาติ สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายแง่มุม เช่น การสูญเสียรายได้สำคัญของประเทศ ลดลงของการจ้างงาน และการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
จากข้อมูลดังกล่าว สำหรับผู้ประกอบการ การเฟ้นหาตลาดใหม่ที่มีการเติบโตของ GDP เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ การ lean ธุรกิจโดยเน้นแรงงานและศักยภาพของพนักงานเป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง และการบริหารเงินทุนเพื่อสร้างศักยภาพในการขยายธุรกิจยังคงเป็นสิ่งที่ต้องทำ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 11 มกราคม 2567