นานาทัศนะเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
วันนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพราะเข้าใจว่ากำลังจะประกาศออกมา และความสัมพันธ์กับนโยบายการเงินโดยเฉพาะเรื่องของดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ ซึ่งเราคงเห็นข่าวมาตลอดที่เป็นข้อถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าทำไมเศรษฐกิจบ้านเราติดหล่ม โตไม่ทัดเทียมศักยภาพ
แต่ทำไม ธปท.ไม่ยอมลดดอกเบี้ย ในขณะที่ฝั่งรัฐบาลก็จะต้องปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมีการปรับอัตราค่าจ้างไม่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ อีกทั้งยังไม่มีการนำผลิตภาพแรงงานมาใช้ในการพิจารณา คณะกรรมการไตรภาคีได้สรุปปรับมาแล้วรอบหนึ่งเป็น 330-370 บาท ซึ่งได้ไม่เท่ากันทุกจังหวัด แต่กำลังพิจารณาจะปรับเพิ่มเป็น 400 บาท อีกตอนนี้นำร่องเฉพาะธุรกิจโรงแรมในสิบจังหวัดท่องเที่ยวไปก่อน
เรื่องค่าแรง เป็นตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งของความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจชะลอตัวจริง การเติบโตของค่าแรงก็จะน้อย อาจจะเป็นเพียงโตตามระดับอัตราเงินเฟ้อหรือบางทีก็จะน้อยกว่า หาก เศรษฐกจิซบเซา แต่มีอัตราเงินเฟ้อสงูเนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานปรับ ขึ้น อันนี้จะเป็นตัวกดดันให้การปรับขึ้นค่าแรงทำได้ยาก เพราะนายจ้างจะไม่มีความสามารถในการจ่ายได้ไหว เพราะมีแต่ฝั่งต้น ทุนเพิ่มอย่างเดียว
ซึ่งน่าจะตรงกับภาวะเศรษฐกิจตอนนี้แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าค่าแรงที่พูดถึงนี้ คือค่าแรงที่จ่ายจริง ไม่ใช่ค่าแรงขั้นต่ำ ค่าแรงที่จ่ายจริงโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นไปตามกลไก ถ้ามีการแย่งตัวแรงงานกันมากเหมือนในสหรัฐ ค่าแรงจ่ายจริงก็จะปรับขึ้นวัดกันได้เป็นรายเดือนเสียด้วยซ้ำ เราจึงจะไม่เอาค่าแรงที่จ่ายจริงไปอิงกับอัตราเงินเฟ้อเท่าไหร่ เพราะปัจจัยที่จะกำหนดค่าแรงที่จ่ายจริง คือความต้องการจากคำสั่งซื้อ ความชำนาญของแรงงาน หรือผลิตภาพของแรงงาน มากกว่าอัตราเงินเฟ้อมากกว่าใบปริญญาด้วยซ้ำ เพราะระบบการจ้างงานของภาคเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วปัจจุบันจะเน้นการจ้างงานตาม Proficiency คือการจ้างงานตามประสบการณ์และทักษะ
เราจะเอาค่าแรงขั้นต่ำมาเทียบกับค่าแรงที่จ่ายจริง จะเป็นคนละเรื่องจะเป็นเรื่องที่ห่างกันมาก ถ้าการจ้างงานในประเทศเป็นการจ้างงานตามผลิตภาพหรือตามความชำนาญและประสบการณ์เป็นส่วนมากเหมือนในประเทศพัฒนาแล้ว มิใช่เป็นการจ้างงานแบบไร้ฝีมือ ซึ่งมักจะอ้างอิงตามค่าแรงขั้นต่ำ เพราะเป็นการจ้างงานคนงานระดับล่าง และแรงงานต่างด้าว ดังนั้นค่าแรงขั้นต่ำในทรรศนะของผม ควรอ้างอิงกับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพเฉลี่ยเป็นหลักซึ่งก็จะล้อ ตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งมีอัตราค่อนข้างต่ำในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา หรือประมาณ ร้อยละ 1-3 เท่านั้น
ประเทศเรามีอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำมาโดยตลอด ถือเป็นโชคดีทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ เพราะมีกลไกในการควบคุมราคาสินค้า ค่อนข้างดีแล้วเราก็บอกว่าค่าแรงขั้นต่ำของเราต่ำมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ หากนโยบายเศรษฐกิจบอกว่า ค่าแรงขั้น ต่ำเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เราก็กำลังจะยอมรับว่าประเทศของเรา ผลิตสินค้าและบริการ แบบที่ไม่มีมูลค่าสูง เป็นส ำคัญ แสดงให้เห็นว่าเราจะไม่สามารถขับเคลื่อน เศรษฐกิจของเราให้พัฒนาไปได้ เพราะผมเคยแสดงเหตุผลให้เห็นแล้วว่า การที่เราส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้มีมูลค่าลดลง หรือมีการเติบโตลดลง เพราะเราขาดการพัฒนานวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ดังนั้นเราควรต้องส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ไปสู่แรงงานชำนาญการ
นอกจากนั้น เราต้องเข้าใจอีกว่า ประชากรไทยตอนนี้ได้รับอัตราค่าแรงขั้น่ำในการทำงานคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในระบบ หากเทียบกับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ คิดเป็นสัดส่วนอย่างไร อย่าลืมว่าเรามีแรงงานต่างด้าวในประเทศ ที่ถูกกฎหมายตอนนี้ประมาณ 3.3 ล้านคน สมมุติว่ารวมที่ไม่ถูกกฎหมายด้วยเป็น 4-5 ล้านคน แค่ในจังหวัดระนองจังหวัดเดียว น่าจะมีประชากรต่างด้าวกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดของจังหวัด หากประชากรแรงงานระดับล่างของไทย ได้รับค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าแรงงานต่างด้าว (ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นอย่างนี้)
ผมว่ารัฐบาลและคณะกรรมการไตรภาคีควรต้องไปขบคิดแล้วว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำควรกำหนดเพื่อตอบสนองอย่างไร เพราะประโยชน์ตกที่คนต่างด้าวเป็นหลัก และจะมีปัญหาทางด้านความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง เช่น หากสหภาพพม่ากลับสู่ภาวะปกติได้ เมื่อประชาธิปไตยกลับมาได้ เขาย่อมต้องการแรงงานเขากลับไป พัฒนาประเทศ แรงงานต่างด้าวระดับล่างเหล่านี้ก็จะขาดแคลนทันทีในประเทศไทย (แม้ว่าค่าแรงขั้นต่ำของเราจะสูงกว่าเขาถึงกว่า 2 เท่า
แต่เชื่อว่าทุกคนก็อยากจะกลับไปอยู่และพัฒนาประเทศตนเองถ้าไม่มีปัญหาหรือหางานทำไม่ยาก) เฉกเช่นเหมือนในกรณีของอังกฤษ ที่เมื่อออกจากสหภาพยุโรป แรงงานระดับล่างชาวยุโรปตะวันออกถูกผลักดันให้ออกนอกประเทศทันที เกิดสภาวะแรงงานขาดแคลนอย่างมาก จนทำให้ค่าแรงในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นมากๆ จนกระทบต่อภาวการณ์ประกอบการ แรงงานระดับล่างในอังกฤษ ไม่ได้ค่าตัวตามค่าแรงขั้นต่ำอีกต่อไปแล้ว เพราะขาดแคลนแย่งตัวกัน
หากเป็นเช่นนี้ ผมเชื่อว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย ตอนที่แรงงานต่างด้าวขาดแคลน คงไม่มีความหมาย เพราะจะเกิดการแย่งตัวกันอย่างมาก เหมือนกับคนงานทำงานบ้าน ทุกวันนี้ ก็ได้รับค่าแรง ไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ บางคนได้ค่าจ้างเท่ากับคนจบปริญญาเอกรับราชการเลย ซึ่งสูงขึ้นมากกว่า อัตราเงินเฟ้อในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เพราะเป็นปัญหาที่มีความต้องการแรงงานสูง และมีผู้ประสงค์ ทำงานด้านนี้น้อยเกินไปเราเอาค่าแรงขั้นต่ำของเรา เช่น ชั่วโมงละประมาณ 50 บาท เทียบกับอังกฤษ ชั่วโมงละ 400 กว่าบาท ต่างกัน 8 เท่า ก็คงไม่สามารถเทียบได้ เพราะราคาค่าก่อสร้างที่บ้านเรากับเขา มันก็ต่างกันมากกว่า 8 เท่า
หากเราต้องการให้ค่าแรงขั้นต่ำเราเติบโตขึ้นไปอยู่ในระดับบนๆ ของโลก เราก็ต้องยกระดับจีดีพีของประเทศ ให้มี GDP Per Capita หรือจีดีพีต่อหัวที่สูง ทัดเทียมกันเหมือนกัน นั้นหมายถึงการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง และต่อไปจะต้องใช้คนน้อยลงเพราะคนเลือกงาน ดังนั้นงานในระดับล่างมากๆ ก็ต้องอาศัยเครื่องจักร หรือ AI ทำงานแทน เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนตรงจุดนี้
สิ่งที่ผมกำลังอยากจะบอกคือ ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ทันสมัย การอ้างอิงปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ แทบไม่มีการหยิบยกมาคุยกันในหน้าสื่อเท่าไหร่เลย มีแต่ค่าแรงจ่ายจริง แต่ของเราใช้ค่าแรงขั้นต่ำมาใช้ในการหาเสียง พูดคุยกันไปถึงวันละ 600 บาท ถามว่าเศรษฐกิจสามารถรองรับได้ไหม เหมือนกับเรื่องแจกเงินพูดไปก่อน ทั้งๆที่ยังไม่รู้เลยว่าจะหาเงินมาจากไหนผมอยากให้มีการหยิบยกค่าแรงที่จ่ายจริงเฉลี่ยทั้งในอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร สูงกว่าขั้นต่ำเท่าไหร่
เราจะได้รายงานตัวเลขนี้ทุกเดือนที่เรียกว่า Job Wage และเขาก็ใช้ Job Wage Growth หรืออัตราการเติบโตของค่าแรงจ่ายจริง มาพิจารณาว่าควรปรับอัตราดอกเบี้ย หรือไม่ และเป็น เหตุผลหลักอันหนึ่งที่ใช้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศญี่ปัุน ในคราวนี้ ที่ปรับขึ้นจนหลุดจากโซนอัตราดอกเบี้ยติดลบกว่ารอบทศวรรษนี้ เพราะค่าแรงที่จ่ายจริงของเขาล่าสุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นถีงกว่า
ร้อยละ 8
พอพูดถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่รัฐบาลเรียกร้องอยากให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยเสียโดยดี เพราะเศรษฐกิจชะลอมาก ผมเองก็เห็นด้วยบางส่วนนะครับ แต่อยากให้เข้าใจว่าสภาวการณ์ทิศทางดอกเบี้ยในโลกนี้ที่ผ่านมา มันอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศฝั่งตะวันตกสูงมาก ในขณะที่ประเทศในฝั่งตะวันออกไม่ได้สูงมากเช่นเขา ดังนั้น เขาจึงขึ้นดอกเบี้ยนำเราไปมากๆ จนทำให้อัตราดอกเบี้ยของเราต่ำกว่าเขาเยอะ
ทั้งๆที่จริงแล้ว ประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่ำกว่า มักจะมีอัตราดอกเบี้ยมากกว่า เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน แต่ตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสหรัฐ และยุโรป กว่าเท่าตัว เราตระหนักตรงนี้ก่อนไหม ถ้าฝั่งตะวันตกมดีอกเบยี้สงูกว่า และเศรษฐกิจเติบโตดีกว่า แล้วเงินที่ไหนจะไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ที่เงินบาทอ่อนลงทุกวัน แม้ยังไม่ลดดอกเบี้ยเงินบาทยังอ่อนตัวลงทุกวัน เรายังเจอดาวรุ่งเช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เตะสกัดเราอีก
ดอกเบี้ยเป็นกลไก ไม่ใช่เพียงเฉพาะการควบคุมอุณหภูมิทางเศรษฐกจิเพยีงอย่างเดียว แต่ยังเป็นปัจจัยที่ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปล่อยเม็ดเงินไปสู่ระบบสินเชื่อมีความเสี่ยงมากขึ้น ดอกเบี้ยในระบบก็จะสูงขึ้น เช่นกันถ้าเราต้องการรักษาเสถียรภาพค่าเงินและดึงดูดเงินทุนไหลเข้า เราย่อมต้องพิจารณาเรื่องระดับความห่างของอัตราดอกเบี้ยเรากับเขาเป็นอย่างมาก อย่าลืมว่าประเทศเราพึงเจอมรสุมพันธบัตร ตราสารหนี้เอกชน ที่ไม่สามารถช าระหนี้ได้ หรือเรียกง่ายๆว่าชักดาบ
แล้วนโยบายอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนของเรา ยังไม่จูงใจอีก แล้วจะมีนักลงทุนหรือสถาบันต่างชาติจะมาลงทุนในตราสารและพันธบัตรบ้านเราอย่างไร อย่าลืมว่าที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติคือสัดส่วนใหญ่ของผู้ลงทุนในพันธบัตรทั้งรัฐและเอกชนไทย ก็จะปรับดอกเบี้ยให้ลดลงเพียงเพื่อส่งสัญญาณในการผ่อนคลายต้นทุนของระบบเศรษฐกิจ อันนี้พอเข้าใจได้ แต่หากจะกำหนดให้เป็นทิศทางอันไม่เป็นคุณต่อการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ อันนี้อาจส่งผลร้ายกับระบบเศรษฐกิจไทยมากกว่าครับ
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 8 เมษายน 2567