โลกสร้างระบบการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมและครอบคลุมมากขึ้น
การประชุมพลังงานโลกหรือ WEC ครั้งที่ 26 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน ณ เมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เน้นหารือถึงมาตรการเพื่อสร้างระบบการเปลี่ยนผ่านพลังงานระดับโลกแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมและครอบคลุมมากขึ้น
การประชุมพลังงานโลกหรือ WEC ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาพลังงานโลกเป็นเวทีสนทนาระดับโลกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 100 ปีก่อน การประชุมพลังงานโลกครั้งที่ 26 ปีนี้มีหัวข้อ “การสร้างพลังงานแบบใหม่สำหรับผู้คนและโลก”
ไม่มีกระบวนการเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพียงอย่างเดียว
การประชุมพลังงานโลกครั้งที่ 26 มีขึ้นประจวบกับโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสภาพลังงานโลกและในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อระดับโลกที่เร่งด่วนที่สุดจึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชาคมระหว่างประเทศ โดยมีผู้แทนกว่า 7,000 คน รวมทั้งรัฐมนตรีจากกว่า 70 ประเทศ ผู้นำของหน่วยงานอุตสาหกรรมกว่า 200 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน นักวางนโยบาย และผู้แทนของกลุ่มบริษัทพลังงานรายใหญ่หลายร้อยแห่งทั่วโลกเข้าร่วม
ด้วยการอภิปรายกว่า 60 นัดที่มีขึ้นเป็นเวลา 4 วัน ที่ประชุม WEC ครั้งที่ 26 เน้นถึง 5 หัวข้อเพื่อสนับสนุนการสร้างระบบการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลกในอนาคต ประกอบด้วย การเชื่อมโยงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใหม่ในการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก การสร้างแรงผลักดันให้แก่การประสานงานที่ดีขึ้นระหว่างแหล่งพลังงาน มาตรการและบริการ การส่งเสริมคำมั่นของประชาชนและประชาคมเพื่อปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านพลังงานระดับโลก การเชื่อมโยงความมั่นคงด้านพลังงานด้วยความสามารถในการให้บริการและความยั่งยืน การลดช่องว่างเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่รวดเร็ว เป็นธรรมและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
ตามความเห็นของนาง แองเจลา วิลคินสัน เลขาธิการสภาพลังงานโลก สถานการณ์ที่เป็นจริงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานในโลกปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก เนื่องจากประเทศ องค์กรและสถานประกอบการมีความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้น การประชุม WEC 26 จึงเป็นเวทีสนทนาที่สำคัญเพื่อให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายที่เกิดขึ้นและมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับความเข้าใจร่วม
“การปรับเปลี่ยนพลังงานไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว เพราะแต่ละภูมิภาคและแต่ละประเทศจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน มีผลประโยชน์และความต้องการที่แตกต่างกัน จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงมิได้มีแค่เส้นทางเดียว ทุกคนกำลังเผชิญกับความยากลำบาก นี่ไม่ใช่ความท้าทายที่ง่ายหรือการทดแทนเทคโนโลยีหนึ่งด้วยเทคโนโลยีอื่น แต่นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่”
ในการอภิปรายนัดต่างๆ วิทยากรส่วนใหญ่ย้ำถึงความเร่งด่วนของการระบุโซลูชันเทคโนโลยีล่าสุดเข้ากับยุทธศาสตร์ทางการเงินที่มีความทะเยอะทะยานยมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก ตัวแทนของกลุ่มบริษัทพลังงานหลายแห่งยังเรียกร้องให้รัฐบาลเสนอนโยบายเพื่อค้ำการประกันการลงทุนที่ยาวนานมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในด้านพลังงานหมุนเวียน
นอกจากนี้ การเพิ่มการสนทนาระหว่างกลุ่มบริษัทพลังงานกับรัฐบาลก็เป็นหัวข้อสำคัญของการประชุม WEC เช่นกัน หัวข้อนี้ได้รับความสนใจในการประชุม WEC 26 โดยเมื่อวันที่ 24 เมษายน รัฐสภายุโรปได้ลงมติเห็นชอบให้สหภาพยุโรปหรือ EU ถอนตัวจากสนธิสัญญากฎบัตรพลังงาน โดยอ้างว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทพลังงานหลายแห่ง และไม่สอดคล้องกับความทะเยอทะยานด้านสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปอีกต่อไป ท่าทีนี้ได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างนักวางนโยบายสาธารณะกับกลุ่มบริษัทพลังงาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก
ความเสี่ยงทางการเมืองกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
ในฐานะเป็นเวทีสนทนาเกี่ยวกับนโยบาย เทคโนโลยีและความท้าทายใหม่ ๆ ในภาคพลังงาน แต่ในสภาวการณ์ของความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์โลก วิทยากรหลายคนที่เข้าร่วมการประชุม WEC ครั้ง 26 ยังได้ออกคำเตือนว่า ความร่วมมือด้านพลังงานทั่วโลกมีปัญหาทางการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง
นาง Carole Nakhle ซีอีโอของบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านพลังงาน Crystol Energy ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศสหรัฐได้ประเมินว่า ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานไม่ได้รับความสนใจมากนักในการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานสีเขียว โดยเฉพาะ กำลังมีการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อควบคุมแหล่งสำรองแร่ธาตุที่สำคัญในโลก และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เช่น ลิเธียม นิกเกิลและโคบอลต์ กำลังมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเครื่องมือของลัทธิชาตินิยมมากขึ้น
ซึ่งสร้างความเสี่ยงเกี่ยวกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ นาย Andy Brogan นักยุทธศาสตร์ด้านพลังงานและทรัพยากรระดับโลกใน EY Parthenon ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มบริษัท Ernst & Young ยังแสดงความเห็นว่า ความมั่นคงด้านอุปทานเป็นเนื้อหาที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศต่างๆ
“ในปัญหาสำคัญด้านพลังงาน 3 ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงของแหล่งจัดสรรและความยั่งยืน ความมั่นคงของแหล่งจัดสรรเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดอย่างแท้จริง ปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ตระหนักได้ดีว่า ไม่ว่าจะทำอะไร ความมั่นคงของแหล่งจัดสรรก็ยังคงต้องมีบทบาทเป็นอันดับต้นๆ”
นาย Andres Rebolledo เลขาธิการบริหารขององค์การพลังงานลาตินอเมริกาหรือ OLADE ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เสี่ยงจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความพยายามร่วมกันระดับโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ยกตัวอย่างเช่นที่ลาตินอเมริกา ซึ่งมีแหล่งสำรองแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงานคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณสำรองของโลก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างก็เห็นถึงแรงกดดันจากการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจเพื่อที่จะเข้าร่วมกระบวนการปฏิบัติโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่กับประเทศนอกภูมิภาคเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
ที่มา vovworld.vn
วันที่ 26 เมษายน 2567