การสิ้นสุดแห่งจักรวรรดิบริติช สอดคล้อง Boomerang Effect สมบูรณ์
คงไม่มีผู้ใดคิดว่า วันนี้สหราชอาณาจักรจะต้องเข้าสู่ภาวะขัดแย้งต่อสู้กันภายในอย่างดุเดือดการฆาตกรรม กองเพลิงที่ลุกโชนเผาไหม้นครลอนดอน ตลอดจนถนนหนทางอีกหลายสิบเมือง กลายเป็นโศกนาฏกรรม
เยาวชนอังกฤษ 1 คนเชื้อสายแอฟริกา อายุ 17 ปี ไม่มีเหตุอันใด จู่ๆ ก็บุกเข้าห้องเรียนลีลาศแห่งหนึ่ง ฆาตกรรมเด็กหญิง 3 คน อีก 8 คนบาดเจ็บสาหัส เป็นเหตุให้เกิดกระแสต่อต้านผู้อพยพอย่างเข้มข้น
สื่อกระแสหลักและรัฐบาลชี้ว่า เกิดจากข่าวปลอมเป็นเหตุ เป็นพฤติกรรมของฝ่ายขวาจัด แต่จากการสำรวจประชามติปรากฏว่า คนส่วนใหญ่เห็นว่าเกิดจากปัญหาเชิงลึกของผู้อพยพ และเกิดความบกพร่องในการควบคุม ผิวสีแตกต่างกัน การผสมผสานระหว่างศาสนากับวัฒนธรรม รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ความจริงรากเหง้าดังกล่าวได้ปลูกฝังไว้ตั้งแต่สมัยจักรวรรดิบริติชยังรุ่งเรือง แต่เนื่องจากการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิ ซึ่งขาดแคลนบุคลากรจึงต้องใช้บุคคลในอาณานิคมตั้งแต่ระดับบนสู่ล่างในวงกว้าง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีลูกจ้างที่เป็นชาวเอเชียใต้และแอฟริกาจำนวนไม่น้อยได้หลั่งไหลเข้ามาอาศัยที่หมู่เกาะสหราชอาณาจักรเรียกว่า “บริติชไอลส์” (Bristish Isles) จนกลายเป็นลูกหลานอังกฤษ เป็นเหตุให้สหราชอาณาจักรต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ลำพังชาวมุสลิมก็เท่ากับร้อยละ 6.5 ของจำนวนประชากรของประเทศ ถ้าหากรวมทั้งศาสนาฮินดูของอินเดีย และประชากรเลือดผสม คนผิวสีของอังกฤษมากขึ้นทุกขณะ นอกจากนี้ หลายปีที่ผ่านมา เกิดสงครามแอฟริกาและตะวันออกกลาง เป็นเหตุให้คนลักลอบเข้าเมืองมากขึ้น หากประเมินคร่าวๆ ณ ปัจจุบันเฉพาะในนครลอนดอน มีคนท้องถิ่นผิวขาวไม่น่าจะเกินร้อยละ 40
นักคิดการเมืองชาวยิวระบือนาม Hannah Arendt ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับจักรวรรดิบริติชปัจจุบันเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุการขยายอาณาเขตจักรวรรดิบริติช จึงเป็นเหตุให้ Boomerang Effect มาเยือน
ก็เพราะจักรวรรดินิยมขยายอาณาเขตกว้างขวาง โดยได้รับประโยชน์มหาศาลจากทั่วโลก ก็เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของนานาประเทศทั่วโลก จึงได้การต่อต้านอย่างเข้มข้นและรุนแรง
ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ความรุ่งเรืองในสมัยนั้น คือ ความเสื่อมโทรมในสมัยนี้
กระแสสื่อออนไลน์มาแรง เป็นตัวเร่งความสุดขั้วทางการเมืองของอังกฤษอย่างชัดเจน การสื่อสัมพันธ์ระหว่างชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นการยากที่จะทำความรับรู้ร่วมกัน ความแตกแยกของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมีแนวโน้มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ การบริหารงานทางการเมืองเกิดปรากฏการณ์ที่ถอยหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการแยกตัวออกจากพันธมิตรยุโรป (Brexit) เป็นเหตุให้เศรษฐกิจของอังกฤษเสื่อมถอยทุกขณะ กอปรกับสงครามยูเครนเป็นเหตุให้ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อมาเร็วยิ่งอย่างลม จำนวนชนชั้นกลางเกิดภาวะถดถอยลดลง ขาดไร้ความปลอดภัยทางสังคม คดีอาชญากรรมเกิดขึ้นอย่างดาษดื่น การฉกชิงวิ่งราวโทรศัพท์มือถือตามถนนหนทางกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งแต่ไม่ตามจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ประชาชนไม่มีที่พึ่ง จึงต้องอยู่กันอย่างอกสั่นขวัญหาย
หลังจากพรรคแรงงานขึ้นบริหารประเทศ ดูเหมือนเป็นการเปิดเผยถึงความล้มเหลวของพรรคอนุรักษนิยม กล่าวคือ ในความเป็นจริงรัฐบาลอังกฤษตกอยู่ในสภาพล้มละลายมานานแล้ว เพราะงบการคลังขาดดุลถึง 2 หมื่นล้านปอนด์ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับติดลบ ยังมองไม่เห็นโอกาสที่จะฟื้นตัว
นี่คือความสิ้นสุดของจักรวรรดินิยม ซึ่งอดีตดำรงตำแหน่งประเทศใหญ่ที่สุดของโลก บัดนี้ได้ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ และต้องเผชิญหน้ากับ Boomerang Effect อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ย้อนอดีตสมัยอเมริกาเหนือเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อังกฤษถือเป็น “นาย” ของสหรัฐ ทำการปฏิรูปอุตสาหกรรมสัมฤทธิผล ปัจจุบันสหรัฐกลับกลายเป็น “นาย” ถือเป็นนัยแห่งการลงโทษทางประวัติศาสตร์
ความจริงสหราชอาณาจักรหวังพึ่งสหรัฐ แต่ก็ต้องถูกหลอกลวงปลิ้นปลอก รวมทั้งหลังการ “Brexit” หวังพึ่งพาสหรัฐ เพื่อให้วอชิงตันและลอนดอนลงนามในสัญญาข้อตกลงการค้าเสรี แต่สหรัฐได้ประวิงเวลามาตลอด ซ้ำร้ายยังขายน้ำมันดิบในราคาที่แพงกว่ารัสเซียให้แก่สหราชอาณาจักรอีกด้วย
จึงเป็นเหตุให้ชาวบริติชอุทานว่า มีเพื่อนแบบนี้ ยังต้องการศัตรูอีกละหรือ
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 27 สิงหาคม 2567