"บ่วงหนี้" พันธนาการทางเศรษฐกิจ "อังค์ถัด" เตือน3.3พันล้านคนสูญโอกาสพัฒนา
"บ่วงหนี้" พันธนาการทางเศรษฐกิจ "อังค์ถัด" เตือน3.3พันล้านคนสูญโอกาสพัฒนาทำให้ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกเผชิญภาวะ "หนี้ท่วม" ซึ่งประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกกำลังทำงานเพื่อใช้หนี้อย่างแทบจะไร้ความหวังที่จะหลุดพ้นจากบ่วงกรรมทางเศรษฐกิจนี้
การค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) หรือ อังค์ถัด ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ(ESCAP) เปิดเผยถึงผลการ ค้นพบ“แดชบอร์ด”ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนี้ทั่วโลก ภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งทำให้มองเห็นว่า “หนี้” ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจว่า “แดชบอร์ด” หรือ “Dashboard”คือการนำข้อมูลที่สำคัญมาสรุปผลให้เห็นภาพในหน้าเดียว ผ่านมุมมองต่าง ๆ ซึ่งตอบโจทย์การทำงานที่ต้องการเห็นรายงานภาพรวมเฉพาะเรื่องที่สนใจ ซึ่งแตกต่างกับรายงาน หรือ Report ที่จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาแสดงผลผ่านข้อความ รูปภาพ หรือตาราง โดยแดชบอร์ดเน้นแสดงรายละเอียดและอธิบายข้อมูลที่ครบถ้วน แต่ แดชบอร์ดจะเน้นแสดงรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้งานต้องการ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ใช้เวลาตีความสั้น และยังเลือก/กรองข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์หรือแนวโน้มของข้อมูล เช่น รายปีรายไตรมาส เพื่อติดตามผลลัพธ์การดำเนินงาน
กลับมาที่รายงานของอังค์ถัดซึ่งระบุว่า หนี้สาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2010 โดยแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 97 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่านี้พุ่งทะยานคือ“อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น”ทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 3,300 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่ใช้จ่ายดอกเบี้ยหนี้มากกว่าการศึกษาหรือการดูแลสุขภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลหนี้ที่แม่นยำและทันท่วงที
“World of Debt Dashboard” พัฒนาโดยอังค์ถัดและESCAP ซึ่งนำเสนอข้อมูลครอบคลุมตัวบ่งชี้หลัก 18 ตัวใน 188 ประเทศ ช่วยให้ผู้ใช้ประเมินสถานการณ์หนี้ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และสังเกตการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ ตัวกรองที่ใช้งานง่ายและกราฟแบบโต้ตอบทำให้ปรับแต่งการค้นหาและสำรวจพื้นที่ที่สนใจเฉพาะได้อย่างง่ายดา
โดยมีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ด้านการเงินสาธารณะและหนี้สาธารณะที่สำคัญ 18 ตัว ครอบคลุมภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกา ภูมิภาคอาหรับ เอเชียและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง และละตินอเมริกาและแคริบเบียน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์พิเศษสำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนาเกาะขนาดเล็ก ซึ่งเผชิญกับความท้าทาย
ประกอบด้วย 6 หัวข้อ 18 ข้อบ่งชี้ ได้แก่ หัวข้อ Debt burden relative to development spending ประกอบด้วย
1)Ratio of public interest payments to investment expenditure คือ ตัวบ่งชี้นี้วัดสัดส่วนสัมพันธ์ของทรัพยากรของประเทศที่อุทิศให้กับการจ่ายดอกเบี้ยสุทธิเทียบกับทรัพยากรที่จัดสรรให้กับการลงทุนสาธารณะ ค่าที่มากกว่า 1 แสดงว่าประเทศใช้จ่ายในการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าการลงทุน โดยประเทศไทยอยู่ที่ 0.2 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 4.0
2)Ratio of public interest payments to health expenditure คืออัตราส่วนของการชำระดอกเบี้ยสาธารณะต่อรายจ่ายด้านสุขภาพ ค่าที่มากกว่า 1 แสดงว่าประเทศใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยมากกว่าการสาธารณสุข สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 0.4 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 9.0
3)Ratio of public interest payments to education expenditure คือ ตัวบ่งชี้นี้วัดสัดส่วนสัมพันธ์ของทรัพยากรของประเทศที่อุทิศให้กับการชำระดอกเบี้ยสุทธิกับทรัพยากรที่จัดสรรให้กับการศึกษาของรัฐ ค่าที่มากกว่า 1 แสดงว่าประเทศนั้นใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยมากกว่าการศึกษา สำหรับประเทศไทย อยู่ที่ 0.4 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 4.4
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 17 กันยายน 2567