ถอดรหัสบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ "SME ไทย"
"มงคล ลีลาธรรม" อดีตกรรมการผู้จัดการ หรือ เอ็มดี SME Bank ฝากโจทย์ท้าทายเอสเอ็มไทย ต้องไต่บันได 5ขั้น ก้าวสู่ความสำเร็จ
นายมงคล ลีลาธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการ(เอ็มดี) SME Bank กล่าวถึงความท้าทายธุรกิจเอสเอ็มอีไทยว่าประเทศไทยมีประชากรประมาณ 67 ล้านคนโดยประมาณ แต่คนวัยทำงานนั้นมีเพียงแค่ 40 ล้านคน นอกนั้นเป็นคนแก่และเด็ก
แต่ในจำนวน 40 ล้านคนนี้เป็นลูกจ้างรัฐและภาคเอกชนประมาณ 15 ล้านคน แยกเป็นลูกจ้างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง และอื่น ๆ จำนวน 3 ล้านคน และอยู่ในภาคธุรกิจเอกชนประมาณ 12 คน
โดยคนกลุ่มนี้จะได้รับค่าจ้าง เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ ส่วนที่เหลืออีก 25 ล้านคน ไม่มีนายจ้างและครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกร กระดูสันหลังของประเทศ อีกครึ่งเป็นเอสเอ็มอี มีอาชีพอิสระ
“สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มใหญ่ไม่อยู่ในระบบประมาณ 25 ล้าน ประเทศที่เจริญแล้ว 25 ล้านคนจะก่อให้เกิดผลผลิตของรายได้ จีดีพี. 60 กว่าเปอร์เซนต์ขึ้นไป คนไม่มีนายจ้างรายได้ไม่มีเพดานด้วย แต่บ้านเรากลับข้าม มีรายได้เอสเอ็มอีรวมทั้งเกษตรกรด้วยมีผลผลิตเพียง 32 เปอร์เซนต์ของจีดีพี. กลุ่มนี้ถือเป็นคนเปราะบาง ขาดไม่ค้ำยัน โอกาสรอดครึ่งๆ”
นายมงคลกล่าวยอมรับว่า การแข่งทางธุรกิจจะเป็นธรรมไม่ได้ คนแข็งแรงกว่าย่อมได้เปรียบ ไม่เหมือนกีฬากอล์ฟยังมีแต้มต่อให้สำหรับคนที่เพิ่งหัดเล่น หากรัฐบาลไม่เข้ามาช่วยเหลือเป็นไม้ค้ำยันให้โอกาสรอดของธุรกิจเอสเอ็มอีคงเกิดยาก
“อย่างที่พระพุทธเจ้าเปรียบคนเป็นดอกบัว 4 กลุ่ม เอสเอ็มอีก็เปรียบเสมือนบัว สองกลุ่มแรกคือบัวปริ่มน้ำ กลุ่มนี้โอกาสรอดมีแต่รัฐต้องช่วย อีกกลุ่มบัวใต้น้ำ โอกาสจะโผล่พ้นน้ำน้อยมากหรือไม่มีเลย ถ้ามีก็ต้องใช้เวลา ส่วนกลุ่มที่โผล่พ้นน้ำแล้วก็ใช่ว่าจะมั่นคงแข็งแรง ถ้าไม่มีไม้ค้ำยันจากรัฐ ลมพัดแรง ๆ ก็ล้ม ฝนตกแดดออกมากไปก็มีปัญหา เพราะรายได้ของคนกลุ่มนี้ยังไม่สม่ำเสมอ”
อดีตกรรมการผู้จัดการ(เอ็มดี) SME Bank กล่าวถึงบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอีว่าเริ่มจากแนวคิดการทำธุรกิจ ซึ่งอาจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นสภาพแวดล้อมครอบครัว ความเหลื่อมล้ำ ฐานะ การศึกษา เป็นต้น ประการต่อมาจะต้องก้าวทันเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแลปงในเรื่องเทคโนดลยีเร็วมาก ใครที่สามารถปรับตัวใช้เทคโนโลยีได้เร็วจะโตแบบทวีคูณ แต่ถ้าใครปรับตัวไม่ได้ทำเหมือนเดิมจะตกลงไปหลุมดำเป็นเรื่องที่น่าเศร้าของเอสเอ็มอีหลายรายที่ต้องเจอสภาวะเช่นนี้
นายมงคลกล่าวต่อว่าประการที่สามเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นั่นคือ มาตรฐานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ อีกครั้งจะต้องมีความปลอดภัย สำคัญที่สุดกระบวนการผลิตจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือกรีน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นพิเศษ หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบสากลสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เราจะอยู่ไม่ได้ และยังถูกตราหน้าว่าเป้นต้นเหตุของภาวะดลกร้อนอีกด้วย
“เดี่ยวนี้ถ้าใครทำธุรกิจแล้วสินค้าไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัยและไม่รับผิดชอบต่อสังคมพร้อม ๆ กับการทำธุรกิจจะอยู่ไม่ได้ จะถูกสังคมตราหน้า วันนี้อากาศร้อนขึ้น มีฝุ่นพีเอ็ม2.5 เพิ่มขึ้น ถ้ามีข่าวว่าใครเป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ก็จบเลยชายของไม่ได้แล้วก็ขายต่างประเทศไม่ได้เลย” อดีตกรรมการผู้จัดการ(เอ็มดี) SME Bank ระบุ
นายมงคลกล่าวอีกว่าสำหรับประการที่สี่ เป็นเรื่องดิจิตอล การใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เพราโลกธุรกิจทุกวันนี้เปลี่ยนเร็วมาก การค้าขายทางออนไลน์กลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในเวลานี้ ส่วนประการที่ห้าน่าจะสำคัญมากที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย นั่นคือสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจะต้องเรื่องสตอรี่ใส่เรื่องราวความเป็นมาจะได้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
“การขายทุกชนิดไม่สามารถขายด้วยตัวของมันเองได้ แต่เราสามารถบอกกล่าวให้คนจดจำแตกต่างจากคนอื่นได้ เรียกว่ามีสตอรี่ มีเรื่องราวยิ่งถ้าเราผูกพันมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเราแล้วก็เอามาใช้ซิครับ”อดีตกรรมการผู้จัดการ(เอ็มดี) SME Bank กล่าวย้ำ
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 10 มีนาคม 2567