การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลแห่งชาติในช่วงปี 2021-2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2050 ได้รับการแสดงความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสภาแห่งชาติครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และคาดว่า จะได้รับการยื่นเสนอต่อสภาแห่งชาติในเวลาที่จะถึง การวางแผนมีความหมายสำคัญและเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพให้แก่งานด้านการบริหารภาครัฐเกี่ยวกับทะเลเพื่อใช้ประโยชน์และใช้พื้นที่ทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล
การวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลแห่งชาติที่ได้รับการจัดทำโดยกรมทะเลและเกาะแก่งเวียดนามสังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางให้แก่กิจกรรมใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและเกาะแก่งอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในระบบการวางแผนพัฒนาประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ รักษาเอกราช อธิปไตย อำนาจอธิปไตย เขตอำนาจศาล และผลประโยชน์แห่งชาติในทะเล
ใช้ประโยชน์จากศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างเต็มที่
เวียดนามเป็นประเทศที่มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,260 กม. มีพื้นที่น่านน้ำที่อยู่ในเขตอำนาจศาลอยู่ที่กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตร มีหมู่เกาะใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ หว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ เกาะและหมู่เกาะอื่น ๆ อีกกว่า 3,000 แห่ง
ด้วยประชากรกว่าร้อยละ 50 ที่อยู่อาศัยใน 28 จังหวัดและนครชายฝั่งทะเล เวียดนามจึงมีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล เช่น การขนส่งทางทะเล การใช้ประโยชน์และการแปรรูปแร่ธาตุ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างเต็มที่ การวางแผนพื้นที่ทางทะเลแห่งชาติมีส่วนร่วมปฏิบัตินโยบายที่สำคัญของพรรคและรัฐในการบริหารภาครัฐเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่ง การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนคือหน้าที่สำคัญและได้รับการปฏิบัติในเวียดนามครั้งแรก
การวางแผนพื้นที่ทางทะเลแห่งชาติได้รับการจัดทำตามแนวทางที่เปิดกว้างและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกระบวนการพัฒนาของประเทศ และได้รับการจัดทำด้วยการช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ตลอดจนการประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากกระทรวง สำนักงาน หน่วยงานส่วนกลางและ 28 จังหวัดและนครสังกัดส่วนกลางที่ติดกับทะเล การวางแผนยึดมั่นตามแนวทางคือการกำหนดพื้นที่ทางทะเลตามระบบนิเวศ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินใหญ่กับเกาะแก่ง ควบคู่กับการรักษาความมั่นคง กลาโหม การต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ นาย เลมิงเงิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ย้ำว่า
“การวางแผนนี้คือพื้นฐานทางนิตินัยที่สำคัญให้แก่การบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางทะเลควบคู่กับเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของท้องถิ่น เราต้องมุ่งมั่นปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ แนวทางนี้ถูกระบุใน 4 เสาหลัก ได้แก่ การค้ำประกันแนวทาง นโยบายของพรรค การค้ำประกันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความมั่นคงแห่งชาติและกลาโหม การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกและการค้ำประกันสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ที่มา vovworld.vn
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567