เลือกตั้งสหรัฐฯ : 5 เหตุผลด้านเศรษฐกิจที่จีนสนับสนุนทรัมป์ 2.0
เลือกตั้งสหรัฐ 2024 หาก "โดนัลด์ ทรัมป์" กลับมา นโยบายต่อจีนอาจไม่เหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนในยุคหลังเลือกตั้ง แรงกดดันทางเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลง
การนึกถึงภาพโลกก่อนที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2017 แสดงให้เห็นภาพในเวลานั้นถึงแนวคิดที่ว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกยังไม่ได้รับการยอมรับในสหรัฐฯ การกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรปดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจินตนาการได้ รวมถึงการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยี
นักวิเคราะห์ด้านภูมิรัฐศาสตร์จาก foreignpolicy มองว่า ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าทรัมป์เปลี่ยนแปลงโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำยั่วยุของทรัมป์เกี่ยวกับจีน ซึ่งรวมถึงคำสัญญาที่จะยกระดับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้เชื่อได้ง่ายว่าผู้นำจีนจะเลือกประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ มากกว่าทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งจากพรรครีพับลิกัน มีการวิคราะห์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จีนจะสนับสนุน โดนัลด์ ทรัมป์
จีนรู้ดีว่าไม่มีความหวังที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯจะดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ โจ ไบเดน กมลา แฮร์ริส
หรือประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใดก็ตาม จากมุมมองของแผนการระยะยาวของจีนที่มีต่อตะวันตก การที่ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งในทำเนียบขาวอาจกลายเป็นผลดีต่อจีนอย่างน้อยก็ใน "ด้านเศรษฐกิจ"
5 เหตุผลว่าทำไมจีนสนับสนุน "โดนัลด์ ทรัมป์" :
ทรัมป์จะเพิ่มความแตกแยกระหว่างสหรัฐและยุโรป
ในเดือนธันวาคม 2023 Financial Times รายงานว่าหน่วยข่าวกรองของจีนได้ใช้ Frank Creyelman อดีตวุฒิสมาชิกเบลเยียซึ่งถูกกล่าวหาว่าถูกจีนจ้างให้ไปสอดส่องยุโรป โดยได้สรุปวัตถุประสงค์ของความสัมพันธ์นี้ไว้ว่า จุดประสงค์คือการแบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และยุโรป
เหตุผลของจีนก็คือ สร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างสหรัฐฯและยุโรปเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายที่เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของจีน เช่น การควบคุมการส่งออกร่วมกัน จากมุมมองนี้ การที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นครั้งที่สองจะเข้าข้างจีน
"ผมคิดว่าสหภาพยุโรปเป็นศัตรูในสิ่งที่พวกเขาทำกับเราในทางการค้า" ทรัมป์กล่าวในปี 2018 และไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเขาเปลี่ยนใจแล้ว
หากได้รับการเลือกตั้ง ทรัมป์ก็คงไม่สามารถต้านทานแรงกระตุ้นที่จะเริ่ม สงครามการค้า กับยุโรปอีกครั้งได้ เช่น การทำตามคำมั่นสัญญาที่จะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 10% ในทางกลับกัน การต่อสู้ทางการค้าก็อาจทำให้ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปในมาตรการที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของจีนหยุดชะงัก
แน่นอนว่าคำมั่นสัญญาล่าสุดของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนขั้นต่ำ 60% ก็สร้างความเจ็บปวดให้กับจีนเช่นกัน แต่ในภาพรวมจีนอาจถือว่า การจ่ายในราคานี้คุ้มค่า หากรางวัลคือ การแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป?
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 31 กรกฏาคม 2567