ESG สำหรับ SMEs ไทย
เรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ มีการพูดถึงกันมานานพอสมควร แต่ส่วนใหญ่มักจะเห็นแต่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่องค์กรเล็ก ๆ หลายแห่งยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และมีค่าใช้จ่ายสูง จึงยังไม่เห็นความสำคัญกันมากนัก แต่แท้ที่จริงแล้ว "ยิ่งปรับตัวได้เร็ว ก็ยิ่งมีโอกาสอยู่รอดสูงกว่า"
ในงานสัมมนา “Unveiling the ESG Toolkit For SMEs” เป็นอีกงานหนึ่งที่พูดถึงเรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งภายในงานมีความน่าสนใจหลายอย่าง ทั้งองค์ความรู้จากวิทยากร รวมไปถึง Showcase ต่าง ๆ ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยสิ่งหนึ่งที่ได้จากงานนี้ คือ “คู่มือปฎิบัติ ESG สำหรับ SMEs ไทย” ซึ่งเกิดจากความทุ่มเทของคณะทำงาน ที่ได้ศึกษาแนวทางจากทั่วโลก ถ่ายทอดออกมาเป็นแนวปฎิบัติให้ SMEs ไทยได้ใช้กัน จึงขอสรุปเนื้อหาโดยย่อที่น่าสนใจ ดังนี้
ESG ย่อมาจาก Environmental, Social, และ Governance หรือ สิ่่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดููแล ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดสำคัญที่ช่วยประเมินว่าองค์กรจัดการความรับผิดชอบต่อโลก ผู้คน และการบริหารงานขององค์กรอย่างมีจริยธรรมได้ดีเพียงใด ในยุุคที่่ความยั่่งยืนคือหัวใจของการแข่งขัน ESG จึงไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือก แต่คือ “มาตรฐานใหม่ของธุุรกิจ” เพื่อให้ธุุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง European Green Deal ซึ่งเป็นยุุทธศาสตร์สำคัญของสหภาพยุุโรป (EU) ที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 ทำให้องค์กรขนาดใหญ่เริ่มขยับในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กยังดำเนินการไม่มากนัก แต่ในระยะต่อไป บริษัทขนาดเล็กที่อยู่ใน Supply Chain ของบริษัทใหญ่ ก็หนีไม่พ้นที่ต้องทำเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่ง European Green Deal ก็ไม่ใช่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมในด้านสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมในทุกมิติ ตั้งแต่การดูแลแรงงาน การลดความเหลื่อมล้ำ ไปจนถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
ทำไม SMEs ไทย ต้องปรับตัวตาม ESG :
กฎระเบียบใหม่ที่กำลังมาถึง เช่น มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) จะเรียกเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้านำเข้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ทำให้ SMEs ที่ไม่ปรับตัว เสี่ยงต่อการถูกกีดกันในตลาด EU นอกจากนั้น ผู้บริโภคใน EU ยังให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการที่ยั่งยืน เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ หรือสินค้าแฟชั่นจากวัสดุรีไซเคิล ดังนั้น SMEs ไทยสามารถใช้โอกาสนี้สร้างความโดดเด่นในตลาดได้ ซึ่งโดยสรุปแล้ว เหตุผลที่ SMEs ไทย ควรปรับตัวตาม ESG มีดังนี้
(1)เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
1.1)การมีนโยบาย ESG ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะในตลาดยุุโรปและสหรัฐฯ ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนนุรกิจอย่างยั่งยืน
1.2)ช่วยสร้างความได้เปรียบในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเฉพาะเมื่อคู่ค้ารายใหญ่ต้องการพันธมิตรที่มีมาตรฐาน ESG
(2)ดึงดูดการลงทุนและพันธมิตรทางธุรกิจ
2.1)นักลงทุนและธนาคารเริ่มให้ความสำคัญกับ ESG โดยพิจารณาจากความยั่งยืนก่อนตัดสินใจลงทุน
2.2)ธุรกิจที่มีการปฏิบัติตาม ESG มีโอกาสเข้าถึงเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ดี และได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตร
(3)ลดความเสี่ยงด้านกฎหมายและการกำกับดูแล
การปฏิบัติตาม ESGช่วยลดความเสี่ยงจากการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ซึ่งอาจนำไปสู่ค่าปรับมหาศาลหรือชื่อเสียงเสียหาย
(4)เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
4.1)การปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น ลดการใช้พลังงาน หรือจัดการของเสียอย่างเหมาะสม ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว
4.2)การบริหารทรัพยากรอย่างยั่งยืนช่วยเพิ่มความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ
(5)สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความไว้วางใจ
5.1)ธุรกิจที่ปฏิบัติตาม ESG สามารถสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ชุมชน และพนักงาน
5.2)เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นในตลาด
จะเกิดอะไรถ้าไม่ปฏิบัติตาม ESG :
(1)สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
1.1)ลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ ESG จะหันไปหาคู่แข่งที่ปฏิบัติตามมาตรฐานนี้
1.2)ไม่สามารถเข้าถึงตลาดที่มีกฎระเบียบเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป
(2)เผชิญกับต้นทุนและความเสี่ยงที่สูงขึ้น
2.1)การบริหารทรัพยากรที่ไม่ดีอาจทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และธุรกิจอาจถูกลงโทษทางกฎหมายจากการลพเมิดกฎระเบียบ
2.2)เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตชื่อเสียงหากเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หรือการปฏิบัติต่อพนักงาน
(3)เสียความเชื่อมั่นจากลูกค้าและนักลงทุน
ธุรกิจที่ไม่โปร่งใสหรือไม่มีมาตรฐาน อาจสูญเสียความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสีย
(4)ความอยู่รอดในระยะยาวอาจถูกคุกคาม
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน หาก SMEs ไม่ปรับตัว ธุรกิจอาจล้าหลังและสูญเสียโอกาสในระยะยาว
ESG คือกุุญแจสู่อนาคตที่ยั่่่งยืนและแตกต่าง :
(1)ESG เป็นมากกว่ากรอบแนวคิด ESG คือ กลยุุทธ์ในการเติบโตที่่ช่วยให้องค์กรมีความพร้อมในทุุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม หรือการกำกับดููแล
(2)ESG เปลี่่ยนความท้าทายเป็นโอกาส ในยุุคที่โลกธุุรกิจเน้นความยั่่งยืน การปรับตัวตาม ESG คือการสร้างความแตกต่างที่่คู่แข่งตามไม่ทัน
(3)ESG สร้างคุุณค่าในระยะยาว องค์กรที่่ยึดหลัก ESG ไม่เพียงแค่ “อยู่รอด” แต่ยัง “เติบโต” ในโลกที่่ทุุกการตัดสินใจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของสังคมและโลก
(4)ESG คือมาตรฐานแห่งอนาคต ในอนาคตที่การดำเนินธุรกิจต้องใส่ใจมากกว่าผลกำไร ESG คือกุุญแจที่่เปิดประตููสู่เศรษฐกิจสีเขียว และการเติบโตที่่ยั่่งยืน
บางคนอาจมองว่า การทำเรื่อง ESG เป็นเรื่องยุ่งยาก หรือไม่เข้าใจว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร...จริง ๆ แล้วไม่ยาก ก็เริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เพราะหลายเรื่องก็มีการทำกันอยู่แล้ว ส่วนอื่น ๆ ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับ โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลด “คู่มือปฎิบัติ ESG สำหรับ SMEs ไทย” เพื่อเป็นแนวทางได้
"หากไม่เริ่มทำในตอนนี้ ก็จะไม่มีความสามารถในการแข่งขันในอนาคต"
ที่มา thaichamber.org
วันที่ 20 ธันวาคม 2567