จีนหรือทรัมป์ ใครกันแน่ถือไพ่เหนือกว่าในสงครามการค้า
สงครามการค้า สหรัฐฯ - จีนปะทุขึ้น เมื่อทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีน125% แต่จีนสวนกลับด้วยมาตรการตอบโต้แบบเต็มพิกัด ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่าจีนอาจถือไพ่เหนือกว่า
แม้ว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกจะได้รับการชะลอ 90 วันจากภาษีนำเข้าเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากภาษีใหม่ 10% สำหรับประเทศคู่ค้าทั้งหมดของสหรัฐฯ แต่ "จีน" กลับต้องเผชิญกับแรงกดดัน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% เเละต่อมา ฝ่ายบริหารของ โดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันกับซีเอ็นบีซีเมื่อวันที่ 10 เมษายนว่า อัตราภาษีสหรัฐ ต่อสินค้านำเข้าจากจีนในปัจจุบันรวมแล้วอยู่ที่ 145% โดยคำสั่งบริหารล่าสุดของทรัมป์ได้เพิ่มภาษีตอบโต้ต่อปักกิ่งเป็น 125% ซึ่งรวมกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับเฟนทานิลอีก 20% ที่ถูกบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม
หลายประเทศเลือกจะไม่ตอบโต้การขึ้นภาษีแบบต่างตอบแทนของทรัมป์ในทันที โดยหันไปใช้วิธีการเจรจาเช่นเดียวกับประเทศไทย เเต่จีนกลับเลือกใช้วิธีที่ต่างออกไปอย่าง โดยตอบโต้ด้วยมาตรการสวนกลับที่รวดเร็วและเด็ดขาด เมื่อวันที่ 11 เมษายน จีนออกมาประณามมาตรการของทรัมป์ว่าเป็นและประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็น 125% เช่นกัน
ยักษ์ใหญ่ปะทะกันเต็มพิกัด :
สองเศรษฐกิจใหญ่กำลังอยู่ในภาวะการปะทะกันทางการค้าแบบเต็มพิกัด และจีนก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่มีทีท่าจะยอมถอย
เว็บไซต์ the conversation รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์สหรัฐฯ–จีน ไม่คาดว่าจีนจะยอมถอยเช่นกัน แตกต่างจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศในสมัยแรกของทรัมป์ ซึ่งในตอนนั้นจีนยังมีท่าทีต้องการเจรจากับสหรัฐฯ แต่ในขณะนี้ จีนกลับถือไพ่ที่แข็งแกร่งกว่าอย่างชัดเจน
ผลกระทบจากภาษีศุลกากรนั้นรุนแรงต่อผู้ผลิตที่มุ่งเน้นการส่งออกของจีน โดยเฉพาะในฝั่งที่ผลิตสินค้าอย่างเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า ของเล่น และเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อส่งออกไปยังผู้บริโภคชาวอเมริกัน
ย้อนกลับไปแต่ตั้งแต่ทรัมป์เริ่มต้นใช้มาตรการขึ้นภาษีกับจีนครั้งแรกในปี 2018 ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายประการได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนทำให้การคำนวณเชิงยุทธศาสตร์ของจีนเปลี่ยนไป
ที่น่าสนใจคือ ความสำคัญของตลาดสหรัฐฯ ต่อเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกของจีนนั้นลดลงอย่างมาก ในปี 2018 เมื่อเริ่มสงครามการค้าครั้งแรก การส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ คิดเป็น 19.8% ของการส่งออกทั้งหมดของจีน แต่ในปี 2023 ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเพียง 12.8% เท่านั้น
คำถามก็คือ ภาษีศุลกากรที่เพิ่มขึ้นอาจยิ่งกระตุ้นให้จีนเร่งเดินหน้ากลยุทธ์การขยายอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้นอีก ซึ่งจะปลดปล่อยการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวจีนและเสริมความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจในประเทศหรือไม่
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 13 เมษายน 2568