BOI คาดเกมยาว "ภาษีทรัมป์" ชง 5 แนวทางรับมือ ดึง 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
"นฤตม์" เลขาฯ BOI ชี้ ภาษีทรัมป์เป็น "เกมยาว" พร้อมเสนอ 5 แนวทางรับมือ หวังไทยเป็นศูนย์กลางลงทุนจากสหรัฐในเอเชีย ดึงดูดทุนใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
วันนี้ (14 กรกฎาคม 2568) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวในงานเสวนาโต๊ะกลม ในหัวข้อ "The Art of The (Re)Deal" ซึ่งจัดขึ้นโดยกรุงเทพธุรกิจ เครือเนชั่น ณโรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ว่า
ในวันที่ 1 ส.ค. 2568 ไม่ใช่วันพิพากษาในเรื่องเก็บภาษี แต่จะเป็นเกมยาวภายใต้ภาษีทรัมป์ โดยการเจรจาต่อรองหรือออกภาษีจะเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถรักษาสมดุลกับประเทศมหาอำนาได้ อาทิ สหรัฐ จีน ตลาดตะวันออกกลาง ยุโรป อินเดีย โดยภาครัฐต้องมีนโยบายยืดหยุ่น คล่องตัว ที่ปรับตามสถานการณ์ได้ ขณะที่เอกชนต้องค้นหาจุดแข็ง
หากดูแล้วเซ็กเตอร์ไหนภาครัฐช่วยเหลือแล้วแต่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องทรานฟอร์มไปสู่ธุรกิจใหม่
ทั้งนี้หากพิจราณาผลกระทบจากภาษีทรัมป์ ที่กระทบการลงทุนมี 4 เรื่องหลัก
(1)Reciprocal Tariff ที่มีผลต่อค้าขายกับการลงทุน
(2)อัตราภาษีทรานชิปเมนต์ ซึ่งยังไม่มีคำชัดเจนเรื่องของนิยามว่าจะมีการกำหนดโลคอลคอนเทนต์อย่างไร ซึ่งของสหรัฐไม่ใช่เพียงการสวมสิทธิ์การนำเข้าส่งออกเท่านั้น แต่รวมถึงสัดส่วนการใช้โลคอลคอนเทนต์
(3)อัตราภาษีรายสินค้าภายใต้มาตรการ 232 สินค้าเกี่ยวกับความมั่นคงที่เก็บภาษีเท่ากันทุกประเทศ คือ 25% อาทิ เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง รถยนต์ ยกเว้น เซมิคอนดักซ์เตอร์ กับอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บภาษี 0% แต่อนาคตก็ไม่แน่นอน ถึงแม้ไม่ได้มีความเปรียบเสียเปรียบ แต่แน่นอนว่ามีต้นทุนเรื่องเงินทางธุรกิจ บางบริษัทมีการเปรียบเทียบว่าสินค้าที่โดนมาตรการ 232 จะลงทุนในสหรัฐหรือนอกสหรัฐ
(4)การจำกัดการส่งออกซิฟ Ai ซึ่งมีชื่อไทยปรากฎอยู่ด้วย หากไทยโดนด้วยก็จะกระทบดาต้าเซนเตอร์ และการพัฒนาขีดความสามารถเอไอของไทย
ขณะเดียวกัน หากสรุปผลมาตรการของสหรัฐที่มีผลต่อการลงทุน หากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้ส่งออกไปสหรัฐอย่างจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่กลุ่มที่อยู่ภายใต้ภาษีมาตรการ 232 จะกระทบไทยมากน้อย ซึ่งภาษีไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการตัดสินใจลงทุน การที่จะตัดสินใจลงทุนมีอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่
(1)โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ น้ำ ไฟฟ้า สนามบิน นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งไทยได้เปรียบหากมองในภูมิภาคเอเชีย
(2)ซัพพลายเชน เช่น ครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อิเล็กทรอนิก ซึ่งไทยได้เปรียบ
(3)บุคลากร แรงงานฝีมือ วิศวะกร ช่างเทคนิกส์ซึ่งไทยได้เปรียบ
(4)สิทธิประโยชน์และมาตรการซัพพอตจากทางภาครัฐ
(5)MarketAxess ไทยมีทั้งตลาดในประเทศ 70 ล้านคน FTA 14 ฉบับกับ 24 ประเทศ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศเรามีสภานะที่แข่งขันได้
"หากการเจรจาไทยได้ภาษีใกล้เคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค ใน 5 เรื่องที่กล่าวไปเชื่อว่าไทยเป็นแรงดึงดูดการลงทุน"
ตั้งเป้าดึงสหรัฐลงทุนไทย :
ทิศทางการลงทุนในสหรัฐในไทย ที่ผ่านมา 3 ปี การลงทุนสหรัฐ มี 135 โครงการ เงินลงทุน 150,000 ล้านบาท หากรวมการลงทุนผ่านทางสิงคโปร์ การลงทุนมากกว่า 200,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิก ยานยนต์ ดิจิทัล อาหารคน อาหารสัตว์ โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทางบีโอไอให้ความสำคัญดึงการลงทุนจากสหรัฐ 5 เซกเตอร์สำคัญ ได้แก่
1)แอดซ์วานอิเล็กทอรอนิก อาทิ การผลิตชิป การผลิตฮาร์ดดิสก์ ชิ้นส่วนเทเลคอม โน๊ตบุค
2)ดิจิตอล AI ดาต้าเซนเตอร์
3)ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์
4)อุตสหกรรมด้านไบโอเบส และไบโอเทค
5)การเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ
ไทยควรเตรียมการรับมืออย่างไร :
1)ผูกซัพพลายเชนไทยกับสหรัฐ ทั้งไทยลงทุนในสหรัฐ และสหรัฐลงทุนในไทย โดยเป้าหมายสำคัญคือเป็นซัพพลายเชนของสหรัฐ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ชิ้นส่วนยานนต์ ดิจิทัล และมองไทยเป็นขยายฐานตลาดเข้าสู่อาเซียน
2)ส่งเสริมลงทุนไทยในสหรัฐ บีโอไอได้มาตรการการรองรับแล้วผ่าน 5 มาตรการ อาทิ การส่งเสริม SME ปรับปรุงและส่งเสริมการผลิต มาตรการส่งเสริมการใช้โลคอลคอนเทนต์ ใช้เครื่องใช้ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
3)การลดความเสี่ยงเรื่องการสวมสิทธิ์ ซึ่งทำงานร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ
4)การจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เช่น กิจการความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมกำจัดการลงทุน
5)การกำหนดการจ้างงานบุคลากรต่างชาติเข้มงวดขึ้น หากเป็นบริษัทที่บุคลากรเกิน 100 คน ต้องมีคนไทยเกิน 70% และกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อบุคลากรต่างชาติ
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 14 กรกฏาคม 2568