ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
ในปัจจุบันเขตสามเหลี่ยมปากแม่นแยงซี (Yangtze River Delta: YRD) ซึ่งประกอบไปด้วยนครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลอานฮุย กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของจีน เพื่อทำให้จีนเป็นผู้นำในอุตสหกรรมหุ่ยนต์ระดับโลก การพัฒนาที่รวดเร็วนี้เกิดจากการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน ในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยแต่ละภาคมีบทบาทที่แตกต่างกัน ได้แก่
บทบาทของภาครัฐ: รัฐบาลท้องถิ่นในเขต YRD มีบทบาทสำคัญที่มีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ มีดังนี้
(1)ความพร้อมด้านบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง YRD มีการลงทุนด้าน R&D คิดเป็น 1 ใน 3 ของจีน และเป็นที่ตั้งของ 1 ใน 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย เช่น Robot Valley ใน Zhangjiang Hi-Tech Park ในนครเซี่ยงไฮ้ และนิคมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อู๋หูที่มณฑลอานฮุย
(2)ศูนย์วิจัยหุ่นยนต์ชั้นนำ เขต YRD มีศูนย์วิจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์หลายแห่ง อาทิ Chinese Academy of Sciences (CAS) ที่เป็นสถานบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติและเป็นที่ปรึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดจำกัดความสามารถด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการวิจัยแบบสหวิทยาการ และการพัฒนาระบบบูรณาการและโซลูชั่นครบวงจร
(3)งานประชุมนานาชาติ อาทิ งานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก (World Artificial Intelligence Conference: WAIC) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ 2018 ที่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติระหว่างผู้นำจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและรับมือกับความท้าทายจากการพัฒนาอุตสาหกรรม AI หุ่นยนต์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
บทบาทของภาควิชาการ: สถาบันศึกษาใน YRD มีบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในพื้นที่ โดย YRD มีมหาวิทยาลัยชั้นนำขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนานวัฒกรรมหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่น่าสนใจ อาทิ
(1)มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง นครเซี่ยงไฮ้ ร่วมมือกับรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้ภายใต้ “แผนนำร่องโรงงานอัจฉริยะของเซี่ยงไฮ้” เพื่อทำการวิจัยในการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์เชิงอุตสาหกรรม เช่น การเชื่อม และโลจิสติกส์ เพื่อยกประสิทธิภาพการผลิต
(2)มหาวิทยาลัย Southeast นครหนานหนิง มณฑลเจียงซู มีความก้าวหน้าด้านเซ็นเซอร์สัมผัสแรงที่ช่วยให้หุ่นยนต์รับรู้สภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น และสนับสนุนความร่วมมือทางเทคนิคในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์บริการผ่าน Yangtze River Delta Service Robot Industry Alliance ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมหุ่นยนต์บริการใน YRD
(3)มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง นครหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ที่ร่วมกับสมาคมหุ่นยนต์เจ้อเจียงรักษาความเป็นผู้นำด้านระบบควบคุมอัจฉริยะและหุ่นยนต์ไบโอนิกส์ สนับสนุนนโยบายผลิตหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม และการวิจัย เพื่อส่งเสริมการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคส่วนต่างๆ เช่น การผลิต โลจิสติกส์อัจฉริยะ และการแพทย์
(4)มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน นครเหอเฝย มณฑลอานฮุย ที่มุ่งวิจัยเทคโนโลยีสมอง สมองน้อย แขนขา และอัลกอริทึ่ม ปัญญาประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งโรงเรียนปัญญาประดิษฐ์และสถาบันหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์
บทบาทภาคเอกชน: ในภาคเอกชนนั้นมีความเข้มแข็ง ทั้งในการระดมทุน การพัฒนานวัตกรรม และการตอบสนองต่อโจทย์ของภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค เขต YRD มีบริษัทที่น่าสนใจ อาทิ
1)Fourier Intelligent นครเซี่ยงไฮ้ ได้พัฒนาหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์รุ่น GR-1 ที่สามารถตอบโต้กับมนษุย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ใช้ AI ขั้นสูงและระบบกล้องรอบตัว 360 องศา โดยเหมาะกับงานฟื้นฟูคุณภาพ อุตสาหกรรม และการบริการ ถือเป็นหนึ่งในหุ่นยนต์ที่ก้าวหน้าที่สุดของจีน
2)Keenon Robotics นครเซี่ยงไฮ้ ที่เป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์บริการที่ประสความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ มีผลิตภัณท์ที่โดดเด่น ได้แก่ DINERBOT-หุ่นยนต์ส่งอาหาร BUTLERBOT-หุ่นยนต์บริการทั่วไป และ KLEENBOT-หุ่นยนต์ทำความสะอาด
3)ESTUN นครหนานจิง มณฑลเจียงซู เป็นผู้ผลิตระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่รายใหญ่ที่สุดของจีน มีทีมวิจัยและพัฒนาที่แข็งแกร่งในการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมครบชุด เช่น หุ่นซีรีส์ Delta และ Scara ที่รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 6 ถึง 450 กิโลกรัม เหมาะสำหรับการจัดการและขนถ่ายเครื่องจักร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมหนัก
4)Unitree Robotics นครหางโจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์สี่ขาและหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ มุ่งเน้นการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีราคาที่เข้าถึงได้ โดยในปี 2024 บริษัทครองส่วนแบ่งการตลาดหุ่นยนต์สี่ขาทั่วโลกถึงร้อยละ 60 มีผลิตภัณท์เด่นได้แก่ Unitree G1-หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ขนาดเล็ก ที่เน้นการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว เน้นการใช้งานในครอบครัวและอุตสาหกรรมบันเทิง
อย่างไรก็ดี จะเห้นได้ว่าการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชนที่ทำงานสอดประสานกันทำให้เขต YRD พัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ได้อย่างเข้มแข็ง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และขยายโอกาสที่สำคัญทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์ระดับโลกในอนาคต (ข้อมูล สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้, เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์)
ที่มา globthailand
วันที่ 15 พฤษภาคม 2568