แง่คิดและโอกาสของไทย จากแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจนครแทกู
"นครแทกู" ตั้งอยู่ในจังหวัดคย็องซังบุก ในอดีตเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของคาบสมุทรเกาหลี ขึ้นชื่อเรื่องอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องยนต์ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปแล้ว นครแทกูจึงเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ 5 สาขา ได้แก่ 10urban air mobility พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศขนาดเล็ก เช่น โดรนส่งของ เครื่องบินขนส่งผู้โดยสารขนาดเล็กในพื้นที่ท่องเที่ยว
1)smart automotives and robotics ยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องยนต์ ให้เป็นยานยนต์แห่งอนาคต และหุ่นยนต์
2)semiconductor sensors ต่อยอดความร่วมมือกับ บริษัท ซัมซุง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่นครแทกู ในการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ และระบบเซนเซอร์
3)digitalized health care and medical hub จัดตั้งศูนย์บริการการแพทย์แห่งอนาคต โดยจะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับ ABB มาปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ
4)AI-Big Data-Blockchain (ABB) ลงนาม MoU กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MSIT) ของเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต้นทางให้พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
นอกจากนี้ นครแทกูยังก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ (แทกู – คยองบุก) ที่คาดว่าจะใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเกาหลีใต้ และพัฒนาพื้นที่สนามบินเดิมให้เป็นเมืองอัจฉริยะและนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับ digital content และ soft power เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น เทศกาลอาหาร เทศกาลเบียร์และไก่ทอด เทศกาลละครเวที เทศกาลศิลปะ กิจกรรมตามรอยดารา K-POP ที่มีภูมิลำเนาในแทกู


ด้านความร่วมมือนครแทกู – ไทย ได้มีการลงนาม MoU แลกเปลี่ยนนักศึกษาและสนับสนุนหลักสูตรเกาหลีศึกษากับหลายสถาบันของไทย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัน (ABAC) พร้อมพิจารณาโอกาสการฝึกงานและการเข้าทำงานของนักศึกษาต่างชาติ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี นครแทกูเปิดโอกาสให้ไทยพิจารณานำสายการบิน ศูนย์กระจายสินค้าและบริการของไทย มาลงยังสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าเพิ่มเติม ดูรายละเอียดเกี่ยวกับนครแทกูได้ที่ https://tinyurl.com/3skamzye
จากแนวทางการพัฒนาของนครแทกูให้แง่คิดและบทเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อไทย เช่น ความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ต้องต่อยอดจากจุดแข็งของอุตสาหกรรมเดิม หาจุดอ่อนหรือข้อจำกัดแล้วใช้วิธีการสร้างสรรค์กลบจุดด้อย และที่สำคัญต้องเร่งพัฒนาสตาร์ทอัพและมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักลงทุน (ข้อมูล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล)
ที่มา globthailand
วันที่ 4 กันยายน 2566