Last-mile delivery คืออะไร อิทธิพลการบริโภคกำหนดธุรกิจ
โลจิสติกส์ หรือการขนส่งและสต๊อกสินค้า กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วกว่า ทำให้ธุรกิจ Last-mile delivery เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
ก่อนอื่น “Last-mile delivery ”หรือ “การจัดส่งขั้นสุดท้ายหรือการส่งมอบไมล์สุดท้าย” คือ กิจกรรมขนส่งที่ส าคัญก่อนที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า เป็นการดำเนินงานส่วนสุดท้ายของการจัดการโซ่อุปทาน ที่สินค้าจะถูกขนส่งจากคลังสินค้าไปยังปลายทางหรือ หน้าประตูบ้านของลูกค้า
โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การให้บริการตามพฤติกรรมการบริโภคและรูปแบบ การค้าในแต่ละยุคสมัย ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าของ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ยกระดับรูปแบบการค้าไปสู่ ช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ท าให้ผู้ผลิตและผู้บริโภค สามารถซื้อขายสินค้าระหว่างกันในตลาดออนไลน์ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบ Last-mile delivery ให้สอดรับกับทิศทางและรูปแบบการบริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไป
พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ภาพรวมดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 หลังจากที่ชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 และปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 โดยมีสาเหตุจากการสูงขึ้นของต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และการเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ย และอัตราค่าจ้างยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการขนส่งที่ขยายตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการส่งออก และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บริการแบบดิจิทัลมีมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมการขนส่งแบบถึงมือผู้รับ (Last-Mile Delivery) เติบโตต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราค่าจ้าง และดอกเบี้ยที่ยังอยู่ระดับสูง ขณะที่การส่งออก และภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นส่งผลดีต่อความต้องการขนส่ง ประกอบกับฐานที่ใช้คำนวณดัชนีไตรมาสที่ 3 ปี 2566 อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ภาครัฐออกมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซล อาจส่งผลให้ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนไม่เป็นไปตามที่คาดได้
สำหรับรูปแบบทางเลือกของการจัดส่งขั้นสุดท้าย (Last-mile logistics fulfillment options) สามารถแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ดังน
1)การซื้อของทั่วไป (Conventional Shopping) ผู้บริโภคจะเดินทางไปซื้อสินค้า ที่ร้านค้าปลีกและรับผิดชอบการขนส่งขั้นสุดท้ายด้วยตนเอง ด้วยการขับรถยนต์ส่วนตัว ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือเดินไปซื้อสินค้าที่ร้าน
2)การจัดส่งไปยังจุดรับ ณ สาขาของร้านค้า (Click and Collect) ผู้บริโภค จะสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสินค้าที่สั่งซื้ออาจมีจำหน่ายแล้วที่ร้านค้าหรือเป็นการส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปยังสาขาของร้านค้า จากนั้นผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปยังสาขาที่ลูกค้าเลือกรับสินค้า ระยะทางการขนส่งเหมือนกับการเดินทางไปซื้อของทั่วไปแต่ใช้เวลาน้อยลงจากการสั่งซื้อออนไลน์ ซึ่งการจัดส่งรูปแบบนี้มักใช้กับร้านค้าปลีกหรือสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ
3)การจัดส่งไปยังจุดรับสินค้าด้วยตนเอง (Pickup Points) เมื่อผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ สินค้าจะถูกจัดส่งไปยังจุดรวบรวมและกระจายสินค้า (Point of Consumption: POC) ซึ่งมักตั้งอยู่บริเวณร้านค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน โดยผู้บริโภคสามารถรับสินค้า ณ จุดรวบรวมและกระจายสินค้าที่ใกล้ที่สุด
4)การจัดส่งไปยังจุดตั้งตู้ล็อกเกอร์ (Locker Stations) ลักษณะคล้ายการจัดส่งไปยังจุดรับสินค้าด้วยตนเอง แต่มีข้อได้เปรียบคือการรับสินค้าจะไม่ขึ้นอยู่กับเวลาท าการของร้านค้า โดยตู้ล็อกเกอร์มักเป็นของผู้ให้บริการขนส่งหรือผู้ค้าปลีกออนไลน์และตั้งอยู่ใกล้สถานที่สำคัญ อาทิ สถานีรถไฟ สนามบิน
5)การจัดส่งถึงบ้าน (Home Deliveries) ภายหลังที่ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้ให้บริการขนส่งจะจัดส่งสินค้าไปยังบ้านของผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเวลาการจัดส่งสินค้าจะต้องสอดคล้องกันทั้งผู้ให้บริการขนส่งและผู้บริโภค ทั้งนี้ มีปัจจัยข้อจ ากัดที่มีส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดส่งถึงบ้าน ได้แก่การจัดส่งที่ล้มเหลวจากการที่ผู้รับไม่อยู่บ้านท าให้ต้องจัดส่งใหม่ (Redelivery)รวมถึงอาจจะต้องมีการส่งคืนสินค้า (Returns) ไปยังผู้จำหน่าย
6)การจัดส่งไปยังรถส่วนบุคคล (In-car Delivery) ภายหลังจากที่ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ผู้ให้บริการขนส่งจะส่งมอบสินค้าไปยังรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ต้องจอดรอในเขตเมือง ณ ช่วงเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ดี การให้บริการรูปแบบนี้ยังคงจำกัดขอบเขตการให้บริการแก่ผู้บริโภคในเขตเมืองใหญ่
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 9 กรกฏาคม 2567