ถอดรหัส 5 ปี โมเดลขนส่ง "เรือ+ราง" ของกว่างซี แนะผู้ประกอบการไทยเร่งใช้ประโยชน์
การขนส่ง "เรือ+ราง" เป็นโมเดลการขนส่งที่เรียกว่า "ฮ็อตสุด ๆ" ในการทำการค้าต่างประเทศของมณฑลในจีนตะวันตก ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ “ระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก” หรือ NWLSC (New Western Land-Sea Corridor) เป็นโมเดลการขนส่งที่มีพัฒนาการใหม่ ๆ ให้เราได้เห็นอยู่ตลอดเวลา และเป็น ‘กุญแจ’ ดอกสำคัญที่ช่วย “ไขประตูการค้า” ให้สินค้าอาเซียน(ไทย)บุกตลาดจีน
กล่าวได้ว่า… เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เป็นต้นแบบของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หรือ Multimodal transportation เชื่อม “เรือสินค้า” กับ “รถไฟขนส่งสินค้า” แบบไร้รอยต่อในบริเวณท่าเทียบเรือ (รถไฟวิ่งเข้าไปถึงในท่าเทียบเรือ) โดยมี “ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้กว่างซี” (คนไทยรู้จักชื่ออ่าวตังเกี๋ย) เป็น “ข้อต่อ” (connector) ที่ช่วยส่งเสริมและเชื่อมการค้าระหว่างจีน (ตะวันตก) กับต่างประเทศ (อาเซียน)
เพิ่งครบ 5 ปีไปหมาด ๆ นับจากการประกาศแผนแม่บท “ระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน มาส่องดูพัฒนาการของการขนส่ง “เรือ+ราง” ในจีนตะวันตกผ่าน “ชุดตัวเลข” ดังต่อไปนี้
การขนส่ง “เรือ+ราง” มีเที่ยวขบวนรถไฟขนส่งสินค้าที่วิ่งให้บริการสะสมทะลุ 30,000 เที่ยวแล้ว โดยเที่ยวขบวนที่ 10,000 ใช้เวลา 1,461 วัน เที่ยวขบวนที่ 20,000 ใช้เวลา 487 วัน และเที่ยวขบวนที่ 30,000 ใช้เวลาเพียง 402 วัน
ที่มา globthailand
วันที่ 29 กันยายน 2567