หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดพิธีมอบรางวัล "สำเภา-นาวาทอง" ประจำปี 2566
วันที่ 13 กันยายน 2566 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดพิธีมอบรางวัลสุดยอดหน่วยงานรัฐด้านการอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ ภายใต้ชื่อ รางวัล "สำเภา-นาวาทอง" ประจำปี 2566
เป็นรางวัลที่ภาคเอกชนจัดขึ้นเพื่อเชิดชูและให้กำลังใจหน่วยงานภาครัฐที่ปรับปรุงกระบวนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอย่างเห็นผล ซึ่งถือเป็นการจัดพิธีมอบรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวแสดงความยินดีและเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 23 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวแสดงความชื่นชมภาคเอกชนที่ได้จัดรางวัลสำเภา-นาวาทอง ขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นต้นแบบของการใช้ศรัทธาและหลักธรรมาภิบาลขับเคลื่อนพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ให้แก่ราษฎร ยกตัวอย่างเช่น การจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริทั่วประเทศ ที่ใช้แนวคิด One Stop Service บูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้แก่ประชาชนในจุดเดียว ดังนั้น การจัดพิธีมอบรางวัลสำเภานาวาทองฯ จึงถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับรางวัลฯ จะต้องรักษามาตรฐานการให้บริการประชาชนและภาคเอกชน ตลอดจนขยายผลไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ ให้มากขึ้นในอนาคตต่อไป
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รางวัล “สำเภา-นาวาทอง” จัดขั้นครั้งแรกเมื่อปี 2565 เป็นรางวัลหอการค้าไทยในฐานะภาคเอกชน เพื่อเชิดชูและยกย่อง แก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ดำเนินการปรับปรุงกระบวนงานอย่างมีประสิทธิภาพและถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินประสิทธิภาพหน่วยงานภาครัฐของสำนักงาน กพร. ซึ่งหอการค้าไทย ได้มีการพิจารณารางวัลอย่างรอบด้าน มีความเที่ยงตรง สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน จนสามารถผลักดันการปรับแก้กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ จากเดิมที่มีการศึกษาว่าจะต้องทำการกิโยตินกฎหมายจำนวน 1,094 กระบวนงาน
ซึ่งเมื่อปีที่แล้วสามารถดำเนินการได้ 938 กระบวนงาน และมีความคืบหน้าเพิ่มเติมเป็น 957 กระบวนงาน ในปีนี้ ซึ่งหากรวมกับที่ กพร. ดำเนินการเพิ่มเติมจาก พรบ. อำนวยความสะดวกภาครัฐฯ อีก 194 กระบวนงาน ก็จะทำให้ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยกันปลดล็อกไปแล้วกว่า 1,151 กระบวนงาน ตอกย้ำความสำเร็จจากความพยายามและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในช่วงที่ผ่านมาจนทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ที่จัดทำโดยสถาบัน IMD (International Institute for Management Development) ในปี 2566 ปรับดีขึ้นมาเป็นลำดับที่ 30 จาก อันดับที่ 33 ในปี 2565 โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เพิ่มขึ้น 7 อันดับ มาอยู่ที่ 24 ในปีนี้ จากการบริหารภาครัฐและกฎหมายธุรกิจที่ดีขึ้น สอดคล้องกับด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น 7 อันดับ
มาอยู่ที่ 23 จากปัจจัยประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นเช่นกัน
สำหรับปี 2566 ถือเป็นโอกาสครบรอบ 90 ปี หอการค้าไทย ภายใต้แนวทาง Connect Competitive Sustainable เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในทุกมิติ หอการค้าฯ ยังคมุ่งมั่นเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลชุดใหม่อย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันให้ภาครัฐปลดล็อคกฎ ระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ให้อำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในการสร้างและขยายโอกาสให้กับประชาชนผ่านโยบายการเปลี่ยนบทบาทของรัฐที่เคยเป็นผู้กำกับดูแลที่เต็มไปด้วยกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ให้เป็นผู้สนับสนุนที่ปลดล็อคข้อจำกัดของประชาชน สร้างโอกาสให้กับประชาชนในการสร้างรายได้และเจริญเติบโต อาทิ การยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น ซึ่งหอการค้าฯ เชื่อว่ารางวัลนี้จะมีส่วนจุดประกายการทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน สร้าง Ecosystem เพื่อให้เกิด Ease of Doing Business และ Ease of Investment อย่างแท้จริง นายสนั่นกล่าว
คุณอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวไว้ในช่วงหนึ่งของการบรรยายพิเศษเรื่อง Digital Disruption ว่า ก.พ.ร. ได้ให้ความสำคัญในการยกระดับและพัฒนาการให้บริการภาครัฐไปสู่การเป็น Digital Government ที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส และลดดุลพินิจในการอนุมัติขั้นตอน
ต่าง ๆ ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิด Ecosystem ที่หน่วยงานราชการสามารถอำนวยความสะดวกในการให้บริการและสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนและประชาชน นอกจากนี้ ก.พ.ร. ยังได้มีการถ่ายโอนภารกิจที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเองให้กับภาคเอกชนมีส่วนในการดำเนินงาน ซึ่งภาคเอกชนมีความรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากกว่า
ด้านคุณสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการสนับสนุนการลงทุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองรางวัลฯ กล่าวเสริมว่า การเพิ่มศักยภาพหรือขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าได้รับการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกจากหน่วยงานภาครัฐ การจัดงานมอบรางวัล“สำเภา-นาวาทอง”ประจำปี 2566 ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ชี้แนะและสนับสนุนข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้เกณฑ์และมาตรฐานในการประเมินการตัดสินจากภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการใช้บริการ และมีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำหน้าที่ประเมินวิเคราะห์ ใน 3 มิติสำคัญประกอบด้วย ประสิทธิภาพของกระบวนงาน การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล และสุดท้ายผลสัมฤทธิ์ด้านการให้ลบริการผ่านช่องทางดิจิทัล การอำนวยความสะดวกและการปรับปรุงการให้บริการ ตลอดจนส่งเสริม e-Government ตามนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศไว้
โดยในปีนี้มีการขยายรางวัลไปยังหน่วยงานระดับภูมิภาค รวมเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) รางวัลหน่วยงานระดับกระทรวง จำนวน 6 หน่วยงาน 2) รางวัลหน่วยงานระดับกรมจำนวน 16 หน่วยงาน 3) รางวัหน่วยงานระดับกระบวนงาน จำนวน 5 หน่วยงาน และ 4) รางวัลหน่วยงานระดับภูมิภาค จำนวน 13 หน่วยงาน
หน่วยงานภาครัฐเข้ารับมอบรางวัล “สำเภา-นาวาทอง” ประจำปี 2566 :
ระดับกระทรวง :
1)กระทรวงมหาดไทย ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
2)กระทรวงแรงงาน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน
3)กระทรวงวัฒนธรรม ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
4)กระทรวงสาธารณสุข ผู้ขึ้นรับรางวัล นายเเพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
5)กระทรวงพาณิชย์ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
6)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณวันนี นนท์ศิริ
ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ระดับกรม :
1)กรมการขนส่งทางบก ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
2)กรมการจัดหางาน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน
3)กรมการพัฒนาชุมชน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
4)กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
5)กรมที่ดิน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน
6)กรมประมง ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณวรรณวิภา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
7)กรมปศุสัตว์ ผู้ขึ้นรับรางวัล นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์
8)กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
9)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
10)ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ผู้ขึ้นรับรางวัล ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ
11)บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป
12)สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
13)สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
14)สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผู้ขึ้นรับรางวัล ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
15)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ขึ้นรับรางวัล ดร.สราวุธ สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน
16)สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณเพ็ญนภา กัญชนะ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ระดับกระบวนงาน :
1)กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณอานันต์ อัลมาตร์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต
2)กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร
ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณภิญญู กำเนิดหล่ม ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร
3)กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรมประมง ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณพัฒนพงศ์ ชูแสง ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ
4)กองพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณมาฆะ ภู่จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหาร
5)สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณเก ประเสริฐสังข์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ระดับภูมิภาค :
ภาคเหนือ
1)สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
2)สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณกนกรัตน์ ยุกติรัตน์ พาณิชย์จังหวัดลำพูน
3)องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณศุภรดา กานดิศยากุล รอง ผจก. อพท.6 (ปฏิบัติหน้าที่ ผจก.อพท.6)
ภาคใต้
1)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณกฤชสร ทรายแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงาน
2)สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณขนิษฐา มุณีแนม พาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3)สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง
ภาคกลาง
1)สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณนฤมล บุญมี ประกันสังคมจังหวัดนครปฐม
2)สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณนิมิตร ฆังคะจิตร พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี
3)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอวังน้อย ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณบัณฑิต ยอดปืน ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอวังน้อย
ภาคตะวันออก
1)สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณยิ่งยศ พันธุ์เอี่ยม
2)สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครนายก ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณธนพร สุวรรณโณ จัดหางานจังหวัดนครนายก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1)สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณว่าที่ร้อยตรี สันทนา ศรีโพธิ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด
2)สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชัยภูมิ ผู้ขึ้นรับรางวัล คุณศศิพิมล มงคล พาณิชย์จังหวัดชัยภูมิ
ที่มา หอการค้าไทย
วันที่ 13 กันยายน 2566