ช่องแคบฮอร์มุซ ชีพจรน้ำมันโลก กำลังตกอยู่ในอันตราย
ช่องแคบฮอร์มุซ จุดคอขวดสำคัญของการขนส่งน้ำมัน นักวิเคราะห์เตือน หากมีการปิดกั้นช่องแคบฮอร์มุซถือเป็นสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลางทำให้แหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดในโลกกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
ช่องแคบฮอร์มุซ มีความกว้างเพียง 21 ไมล์ (34 กิโลเมตร) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็น จุดคอขวดสำคัญของการขนส่งน้ำมัน ตามข้อมูลของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานแห่งสหรัฐฯ ช่องแคบนี้ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่านและโอมาน เป็นช่องทางแคบๆ แต่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางกับตลาดสำคัญต่างๆ ทั่วโลก
ในปี 2022 ปริมาณน้ำมันที่ไหลเข้าช่องแคบฮอร์มุซเฉลี่ยอยู่ที่ 21 ล้านบาร์เรลต่อวันตามข้อมูลของสำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณ 21% ของการค้าน้ำมันดิบทั่วโลก
ความเสี่ยงการหยุดชะงักอุปทานในช่องแคบฮอร์มุซ :
การค้าขายน้ำมันทั่วโลกราวหนึ่งในห้าต้องผ่านช่องแคบนี้ทุกวัน นอกจากนี้ ช่องแคบยังคิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของการค้าก๊าซธรรมชาติเหลวต่อวันทั่วโลกอีกด้วย
ความไม่สามารถขนส่งน้ำมันผ่านจุดคอขวดสำคัญได้ แม้เพียงชั่วคราว อาจทำให้ราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น และทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดหาอย่างมาก
สำหรับนักวิเคราะห์ด้านพลังงานจำนวนมาก เหตุการณ์ที่มีการปิดกั้นหรือหยุดชะงักการไหลของน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้
กรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นได้ :
หากอิสราเอลโจมตีอิหร่าน และอิหร่านดำเนินการเพื่อชะลอความเร็วหรืออาจพยายามปิดกั้นช่องแคบฮอร์มุซจะส่งผลกระทบที่รุนแรงยิ่งกว่า เพราะเป็นเส้นทางที่การส่งออกน้ำมันดิบทั่วโลก 20% ผ่านจากประเทศต่างๆ เช่น ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และอิรัก และในระดับหนึ่งคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้ถือครองกำลังการผลิตสำรองทั่วโลก
ในขณะที่ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงมากขึ้น ความเสี่ยงที่น้ำมันจะหยุดชะงักผ่านช่องแคบหรือแม้แต่หยุดชะงักโดยสิ้นเชิงก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจส่งให้คล้ายกับ วิกฤติน้ำมัน1970
ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของอาหรับหยุดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐและประเทศอื่นๆ เพื่อตอบโต้การสนับสนุนอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอลในปีนั้น การคว่ำบาตรดังกล่าว ส่งผลให้น้ำมันขาดแคลนในสหรัฐ
ความขัดแย้งในตะวันออกลางทำราคาน้ำมันพุ่ง :
ในปีนี้ตั้งแต่อิสราเอลเริ่มโจมตีกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เมื่อปลายเดือนกันยายน ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับจีนที่กำลังประสบปัญหาและภาวะล้นตลาดของอุปทานน้ำมันทั่วโลก
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงของโลกพุ่งขึ้นเล็กน้อยกว่า 5% สู่ระดับ 77 ดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ในวันที่เพจเจอร์ของสมาชิกกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ระเบิดขึ้นเกือบพร้อมกันทั่วเลบานอน โดยเป็นการโจมตีที่วางแผนโดยอิสราเอล ในช่วงเวลาดังกล่าว ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียต WTI พุ่งขึ้น 3.6% สู่ระดับเกือบ 74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แต่หากการค้าขายน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นช่องแคบสำคัญเกิดความไม่แน่นอน ราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามข้อมูลของ บริษัทวิจัย ClearView Energy Partners ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งสูงขึ้น
การหยุดชะงักของก๊าซธรรมชาติเหลวจากกาตาร์ :
มีความกังวลว่า การหยุดชะงักไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในตลาดน้ำมันเท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของก๊าซธรรมชาติเหลวจากประเทศกาตาร์ ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 20% ของการค้า LNG ทั่วโลก
เหตุการณ์นี้อาจสร้างความตกใจให้กับตลาดก๊าซทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงที่เข้าสู่ฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ ซึ่งพบว่าความต้องการก๊าซเพื่อใช้ในการให้ความร้อนมีมากขึ้น แม้ว่าจะเห็นปริมาณการส่งออก LNG เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าปริมาณการส่งออกของกาตาร์
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 9 ตุลาตม 2567