ไทย ตั้งรับ สหรัฐฯขึ้นภาษี หวั่นกระทบการค้า 2.3-2.7 แสนล้านบาท
"วุฒิไกร" ปลัดพาณิชย์ นำทีมแถลงมาตรการรับมือ "ทรัมป์" ขึ้นภาษี คาดหากสหรัฐขึ้นภาษีสินค้าไทย ทำเสียหาย 7-8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.3-2.7 แสนล้านบาท
วันนี้ (2 เมษายน 2568) นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดแถลงข่าวเตรียมความพร้อมของไทยต่อนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา ที่สหรัฐจะประกาศมาตรการทางการค้าที่ตอบโต้ภาษีกับคู่ค้าสหรัฐใน
โดยนายวุฒิไกร กล่าวว่า คณะทำงานได้มีการเตรียมประชุมและทำแผนการเจรจาเชิงรุกร่วมภาครัฐกับภาคเอกชนไว้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐได้ประกาศใช้มาตราการด้านภาษี 4 รูป ประกอบด้วย
1)มาตราการขึ้นภาษีรายประเทศ
2)มาตราการขึ้นภาษีเป็นรายสินค้า
3)ขึ้นภาษีกับกลุ่มประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ก่อปัญหาด้านยาเสพติด การอพยพเข้าเมืองและ
4)ขึ้นภาษีตอบโต้รายประเทศ
ทั้งนี้การที่สหรัฐขึ้นภาษีส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและไทยเนื่องจากสหรัฐมีสัดส่วนการค้าการโลก 20% และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทยแต่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย โดยจาการที่สหรัฐขึ้นภาษีในรอบแรกไทยได้รับผลกระทบไปแล้ว คือ สินค้ากลุ่มเหล็กและอลูมิเนียม ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 12 มี.ค. โดยเหล็กขึ้นจากภาษี 0 -12.5% เป็น 25% อลูมิเนียมจาก 0-6.25.% เป็น 25%
ทั้งนี้ไทยได้รับผลกระทบแต่มีการเก็บภาษีคู่แข่งในทุกประเทศ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก เพราะยังส่งได้ตามปกติแต่ชะลอลง เนื่องจากเป็นสินค้าสหรัฐจำเป็นต้องนำเข้า ส่วนกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จากเดิม 0-4.9% เป็น 25% ซึ่งจะมีผล 3 เม.ย.
อย่างไรก็ตามคาดว่าสหรัฐจะมีการปรับขึ้นภาษีไทย 2-3 รายการประกอบด้วย สินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ อาจปรับภาษีนำเข้าเป็น 25% ยา ไม้ และผลิตภัณฑ์จากป่า นอกจากนี้ไทยยังมีแนวโน้มที่จะถูกเก็บภาษีตอบโต้โดยสหรัฐอาจจะมีการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าให้เท่าที่ไทยเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ
ปัจจุบันพบว่า ไทยมีการเก็บภาษีสินค้าสหรัฐในสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร ในอัตราสูงกว่าสหรัฐ 11% ซึ่งหากสหรัฐการเพิ่มภาษีให้เท่ากับไทยเก็บคาดว่าทำให้ไทยเสียหาย 7-8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.3-2.7 แสนล้านบาทโดยสินค้าที่ได้รับลกระทบเช่น ข้าว กุ้งแปรรูป ยางล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
สำหรับแนวทางการเจรจานั้นที่ผ่านมาคณะทำงานได้เดินทางเข้าพบสภาคองเกรส เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอนแนะตามขั้นตอนที่สหรัฐเปิดรับความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ลงทุน ผู้นำเข้าจากทุกประเทศรวมทั้งไทยเพื่อให้ชี้แจงข้อมูล อย่างไรก็ตามทางไทยแจ้งเพื่อขอเข้ายูเอสทีอาร์ แต่ยังไม่ได้เข้าพบ
นอกจากนี้ไทยอาจจะใช้แนวทางในการปรับลดภาษีนำเข้าและเพิ่มปริมาณนำเข้าเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ เศษเนื้อ และเครื่องใน สุรา และเครื่องบิน โดยในส่วนนี้อาจประสานให้บริษัทการบินไทยเช่าหรือซื้อจากสหรัฐแทน ส่วนในเรื่องของพลังงานพิจารณาให้ปตท.นำเข้าน้ำมันดิบ ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมเหลว
อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐคงไม่สามารถลดการขาดดุลการค้าที่สูงถึง 3-4 หมื่นล้านดอลลาร์กับไทยได้ ดังนั้นจะต้องทำทุกมิตินอกเหนือจากการค้า เพราะต้องมองในเรื่องของการลงทุน หุ้นส่วนทางพันธมิตร รวมทั้งต้องมีการสร้างเสถียรภาพการค้าเพื่อลดการขาดดุล
โดยสนับสนุนให้ไทยเข้าไปลงในสหรัฐเพื่อสร้างการจ้างานในสหรัฐมากขึ้น จากปัจจุบันมีการลงทุน 70 บริษัท ใน 20 มลรัฐมีการจ้างงาน 1.1 หมื่นตำแหน่ง โดยเน้นในมลรัฐที่ทรัมป์ให้ความสำคัญ โดยรัฐได้คุยกับอุตสาหกรรมอาหาร และพลังงาน ที่พร้อมเข้าไปลงทุนในสหรัฐ
ทั้งนี้สหรัฐมีข้อกังวลในเรื่องการย้ายฐานการผลิตบางประเทศมายังไทยทำให้เกิดการสวมสิทธิสินค้าไทยไปสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้าดูแล ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ขึ้นบัญชีสินค้าที่เสี่ยงสวมสิทธิประเทศไทยแล้ว 49 รายการ โดยเฉพาะเหล็ก ผลิตภัณฑ์จากจีน และยังกังวลมาตราการกีดกันทางการค้าที่ไม่ภาษีของไทยซึ่งเรืองนี้ได้หารือกับหน่วยงานราชการลดเงื่อนไขและอุปสรรคต่างๆแล้ว นอกจากนี้ไทยยังเตรียมรับมือผลกระทบ และมาตราการเยียวผลกระทบกับผู้ประกอบการ และนำเรียนนายกไปหมดแล้ว วางเป้า 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 :
การเยียวยาเร่งด่วนทั้งผู้ประกอบ เอสเอ็มอี เช่น ลดดอกเบี้ย เข้าแหล่งเงินทุนมากขึ้น
แนวทางที่ 2 :
ในระยะยาวต้องเดินหน้าเจรจาเอทีเอกับประเทศต่างเสร็จโดยเร็ว โดยเอฟทีเอไทยอียูจะเสร็จในปีนี้แน่นอน เพื่อชดเชยการถูกต้อบโต้ภาษีจากสหรัฐ
“แนวทางการเตรียมรับมือและการเจรจานี้คณะทำงานคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติด้วยความรอบคอบและความเสียหายกับประเทศให้น้อยที่สุด โดยการเจรจายึดหลักการเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน 2 ฝ่าย เพื่อสร้างสมดุลทั้ง 2 ประเทศ โดยแผนเจรจาให้เสนอให้นายกฯทั้งหมดแล้วซึ่งสุดท้ายนายกฯจะเป็นคนตัดสินใจ “นายวุฒิไกร กล่าว
ไทย-สหรัฐ MOU นำเข้าก๊าซ LNG 7.5 พันล้านดอลลาร์
นายสมภพ พันธนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ไทยกับสหรัฐมีคสามร่วมมือด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องการนโยบายพลังงาน และการโอกาสด้านการลงทุน โดยในปี 67 ไทยได้นำเข้าน้ำมันนำเข้าน้ำมันดิบ ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมเหลว มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดลงนามนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี 1 ล้านตันต่อปี รวมระยะเวลา 15 ปี รวมมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ปตท.ยังมีการลงทุนในสหรัฐ 1.2 พันล้านบาทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ล่าสุดได้มีการพบว่าหารือผู้ว่าการรัฐอลาสก้า โดยไทยสนใจเข้าลงทุนในอุตสากรรมก๊าซเอลเอ็นจี
หวั่นเรื่องสวมสิทธิ์ส่งออก :
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป้าหมายของทรัมป์ในการขึ้นภาษี เพื่อต้องการดึงการลงทุนและการจ้างงานกลับคืน ซึ่งปีที่ผ่านมาไทยเกินดุลสหรัฐเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ที่อันดับ 11 ของโลก โดยคาดอุตสาหกรรมที่เกินดุลมากก็จะได้รับผลกระทบ เช่น เหล็ก และอะลูมินัมที่โดนขึ้นภาษีไปก่อนแล้ว ซึ่งไทยเราส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างมากถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
นอกจากนี้จะมีการขึ้นภาษีแบบเจาะจง ซึ่งจะทำให้กลุ่มยานยนต์ และชิ้นส่วนรับผลกระทบเพิ่มอีก
โดยภาคเอกชนก็ต้องเตรียมแผนรับมือ รวมถึงต้องเตรียมข้อมูลชี้แจงด้วยว่าการเกินดุลบางส่วนก็มาจากการที่สหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทย และส่งออกกลับไปสหรัฐ เช่น อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็ยังเกินดุลไทยหลายส่วน โดยเฉพาะธุรกิจบริการออนไลน์ ดาต้าเซอร์วิส รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ สอท.เป็นห่วงคือ เรื่องการที่สินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนเข้ามาสวมสิทธิสินค้าไทยเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นนี้สหรัฐฯ มีการจับตาค่อนข้างมาก อีกทั้งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่ไทยมีการส่งออกไปสหรัฐเพิ่มไปมากขึ้นเยอะซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเร่งนำเข้าก่อนใช้มาตรการภาษี
แต่สิ่งที่สวนทางคือดัชนีการผลิตในประเทศที่ลดลง และสอดคล้องตัวเลขนำเข้าจากจีนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการนำสินค้าจีนเข้ามาเพื่อใช้สิทธิส่งออก หรืออาจนำวัตถุดิบมาผลิต แต่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 10-20% แต่ใช้วัตถุดิบจากจีนถึง 70-80%
“ตัวเลขที่น่าสนใจการนำเข้าจากจีนยังเพิ่มต่อเนื่อง โดยเฉพาะเดือนม.ค.68 เพิ่มถึง 20% โดยเฉพาะเหล็ก ยางรถยนต์ ดังนั้น สอท.จึงร่วมกับสมาชิกตั้งทีมติดตามดูอย่างใกล้ชิด พร้อมกับตั้งแพลตฟอร์ม FTI EYE ขึ้นมาเพื่อรับแจ้งข้อมูลเข้ามาหากพบเจอพฤติกรรมดังกล่าว และเร่งนำมาแก้ไขให้ทันท่วงที”
นำเข้าสินค้าสหรัฐ - ลดแรงกดดันทางการค้า
นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยคนใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตําแหน่งประธานธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งนโยบายมีความชัดเจนเรื่องของการขึ้นภาษีกับประเทศที่ได้หนุนการค้ากับสหรัฐ รวมถึงเรื่องดึงการลงทุนเข้าไปในสหรัฐ
หากพิจารณามูลค่าการค้าเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรและอาหารพบว่าไทยเกินดุลสหรัฐฯ 142,654 ล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเกษตรอาหารอันดับที่ 11 ของโลกและไทยยังไทยยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก
อย่างไรก็ตามไทยเองควรพิจารณาเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหาร และพลังงาน เพื่อลดความกดดันด้านดุลการค้า รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโควต้าภาษีนำเข้าของไทยกับสหรัฐฯ ให้มีจุดยืนที่เป็นธรรมและสมดุล (Fair and Balance Postion) ในการเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญในการลดแรงกดดันทางการค้าจากสหรัฐฯ คือ การเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่จำเป็นจากสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีจุดยืนที่ดีขึ้นในการเจรจาต่อรอง
ทั้งนี้ทางหอการค้าฯ มีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ กับทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้มีสินค้าต่างประเทศทะลักเข้าสู่ตลาดอาเซียนรวมถึงไทย สร้างแรงกดดันต่อการส่งออกของไทยและผู้ประกอบการไทยในทุกระดับต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
นอกจากนี้โดยหอการค้าฯ เสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาการนำเข้าสินค้ากลุ่มต่างๆ ที่จะไม่กระทบต่อคู่ค้าและเกษตรกรภายในประเทศ
(1)พืชอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง) ที่ผ่านมาไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและหมอกควัน การเปิดโควต้านำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ
ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวของไทย จะช่วยให้เกษดรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (โค สุกร ไก่) ไทยมีต้นทุนวัตถุดิบที่ดีและถูกลง ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกเนื้อสัตว์ไปต่างประเทศดีขึ้น รวมทั้งจะช่วยผู้บริโภคในประเทศในประเภทเนื้อสัตว์ด้วย
(2)สินค้าอาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอนแช่แข็ง หอยเซลล์ และปลาทูน่าจากเรือชักธงสหรัฐฯซึ่งไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปภายในประเทศ
(3)สินค้าประเภทสุราและเครื่องดื่มแอลถอฮอลล์ (Whisky & Wine)
(4)เครื่องในสัตว์ เพื่อนำมาผลิตและแปรรูปในอุดสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ทำเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกหอการค้าฯ มองว่านโยบายภาษีของสหรัฐฯ จะทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของโลกเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง
ปัจจุบันประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่นได้มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคกันแล้ว อีกทั้งสหภาพยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับแคนาดาในการเปิดตลาดกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ทางหอการค้าฯ เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลของไทยจำเป็นต้องเร่งเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี FTA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FTA ไทย-ยุโรป FTA อาเซียน-แคนาดา รวมถึงการปรับปรุงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ให้สำเร็จภายในปี 2568 นี้ให้ได้ ซึ่งจะทำให้ GDP ของไทยเติบโดขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า1 % รวมทั้งการส่งออกจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 10%
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 2 เมษายน 2568