ภาษีทรัมป์ 37%ฉุดสินค้า-อุตสาหกรรมไทยอะไรบ้างได้รับผลกระทบ -คู่แข่งไทยใครได้เปรียบ ?
ภาษีทรัมป์ 37% ฉุดสินค้า-อุตสาหกรรมไทย อะไรบ้างรับผลกระทบ เสียเปรียบจากคู่แข่งขัน ที่เรียกเก็บภาษีต่ำกว่าไทย ขณะเวียด นาม แม้ต้นทุนภาษีสหรัฐสูงกว่า แต่ต้นทุนแรงงานต่ำกว่า จับตานายกฯแพทองธาร เจรจา ต่อรอง พร้อมเพิ่มนำเข้า สินค้าหลากหลาย
การประกาศนโยบาย ขึ้นภาษีนำเข้าแบบฐานขั้นต่ำในอัตรา 10% จากทุกประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบถูกเก็บภาษีในอัตรา 36% และในเวลาต่อมา ได้มีเอกสารแนบท้ายประกาศจะมีการปรับแก้ตัวเลขเป็น 37% และมีผลทันทีวันที่9เมษายนนี้
หลายประเทศได้ส่งสัญญาณออกมาตอบโต้สหรัฐโดยเฉพาะจีนที่ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐ 34% และสหรัฐฯมีแผนโตกลับในทันทีเช่นกัน ขณะ ประเทศไทยโดย นางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่6เมษายน
ที่ผ่านมาระบุว่า รัฐบาลมีข้อสรุปเจรจา กับสหรัฐฯ และเพิ่มการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ในวันที่8เมษายน โดยสิ่งที่รัฐบาลจะสื่อสารคือประเทศไทยไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกเท่านั้น แต่เราคือพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯเชื่อถือได้ในระยะยาว
เช่น การเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในด้านพลังงาน อากาศยาน และ สินค้าเกษตร โดยประเทศไทยมีแผนที่จะสร้างความร่วมมือกับภาคเกษตร
นอกจากนี้ ประเทศไทยจะมีการเจรจาเรื่องการส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ และลดเงื่อนไขการนำเข้าที่เป็นอุปสรรครวมไปถึงการปราบปราม การสวมสิทธิถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม สินค้าและอุตสาหกรรมส่งออกของไทย ที่จะได้รับผลกระทบจากขึ้นภาษี37% มากถึง1ล้านล้านบาท จะมีผลต่อต้นทุนของสินค้าและอัตราภาษีที่สหรัฐฯเรียกเก็บแต่ละประเทศไทยเท่ากัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าต้องหาตลาดใหม่
ขณะเดียวกัน การขึ้นภาษีดังกล่าว จะกระทบกับปากท้องของพลเมืองของสหรัฐฯเอง ที่ต้องซื้อสินค้าแพงและเกิดเงินเฟ้อสูง ส่งผลให้เกิดการประท้วงจำนวนมาก
ขณะอุตสาหกรรมไทยอะไรบ้างที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีทรัมป์37% นักวิเคราะห์ จาก แวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ระบุว่า ปัจจัยที่ทรัมป์ขึ้นภาษีไทยในอัตราที่สุง อาจเป็นเพราะที่ผ่านมาไทยให้การสนับสนุนจีนและจีนเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งสินค้าส่งออกไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค ไปในนาม ประเทศไทย
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมส่งออกของไทย ระบุว่า การขึ้นภาษีในครั้งนี้ประเทศไทยได้รับผลกระทบสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดใหญ่ และเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละประเภท
ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ ประเภทสินค้า จากที่ไหนที่มีปริมาณการส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากที่สุด หรือมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด แต่รวมไปถึงค่าเสียโอกาสในการส่งออกเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันของไทยที่ส่งออกสินค้าประเภทเดียวกันไปยังสหรัฐฯ
ที่เห็นได้ชัดเจน คือ สินค้าภาคการเกษตรอย่างสัปปะรด ซึ่งไทยมีคู่แข่งในการส่งออกโดยตรงคือ ฟิลิปปินส์ แต่สหรัฐฯ กลับขึ้นภาษีฟิลิปปินส์เพียง 17% ส่งผลทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านต้นทุน
เช่นเดียวกับ สินค้าประเภทยางพารา สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ3 หรือคิดเป็นสัดส่วน 10.6% ของสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปี 2567 แต่ มาเลเซียคู่แข่งราย กลับได้รับการขึ้นภาษีจากสหรัฐฯเพียง24%
ในขณะที่ สินค้าบริโภคทั่วไป ปกติไทยสามารถแข่งขันกับจีนและเวียดนาม ได้โดยภาษีเราสูงกว่าจีนเล็กน้อย ส่วนเวียดนาม แม้ จะกระทบภาษีที่สูงกว่าไทย แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนแล้ว ไทยอาจจะเสียเปรียบหรือสูสีได้เนื่องจากต้นทุนค่าแรงงานต่างกัน ไทยสูงกว่า เวียดนามค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ยังพบว่า สัดส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2567 ได้แก่
1)เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 24.9% ด้วยมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2)เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 11% ด้วยมูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
3)ผลิตภัณฑ์ยาง 10.6% ด้วยมูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
4)อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอต 5.8% ด้วยมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5)รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้วยมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม แม่สินค้าอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบมากจากนโยบายภาษีทรัมป์ 37% แต่เมื่อ ดูไส้ใน รายการสินค้าพบว่าสินค้าเกษตร มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
ทั้งนี้ต้องดูผลการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ วันที่8เมษายนนี้ว่าในที่สุดแล้วผลออกมาจะเป็นอย่างไร
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 6 เมษายน 2568