ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยเผชิญความท้าทายยอดเปิดกิจการลด 18.7%
สนค. รายงานสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ ยอดเปิดกิจการใหม่ลดลง 18.7% ส่วนปิดกิจการลดลง 34.7% ด้านการลงทุนจากต่างประเทศกลุ่มโลจิสติกส์ไทยสูงสุด จีน รองลงมา เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ญี่ปุ่น และฮ่องกง ขณะที่ธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด การขนส่งและขนถ่ายสินค้า
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานว่า สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยถึงการเปิดปิดกิจการโลจิสติกส์ เดือน มิถุนายน 2567 ปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์มีจำนวนนิติบุคคลรวม 43,595 ราย ประกอบด้วย เปิดกิจการใหม่ 279 ราย ลดลง 18.7% และปิดกิจการ 62 ราย ลดลง 34.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ธุรกิจโลจิสติกส์ที่น่าจับตามอง คือ การขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร ซึ่งเปิดกิจการใหม่ จำนวน 122 ราย คิดเป็น 43.7% ของกิจการเปิดใหม่ทั้งหมด โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนการเปิดกิจการใหม่รองลงมา คือ การขนส่งสินค้าอื่น ๆ ทางถนน และกิจกรรมตัวแทน รับจัดการส่งสินค้าและตัวแทนออกตามลำดับ
ด้านการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจโลจิสติกส์ เดือน มิ.ย. 2567 มูลค่า 6,081.99 ล้านบาท คิดเป็น 15.09% ของการลงทุน ในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย สัญชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ญี่ปุ่น และฮ่องกง สำหรับธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ การขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคน โดยสาร คิดเป็น 41.78% ของการลงทุนจากต่างชาติในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย
สถานการณ์และพัฒนาการของท่าเรือของไทยและประเทศคู่ค้าในเดือนมิถุนายน 2567 ธนาคารโลก ร่วมกับ S&P Global Market Intelligence เผยแพร่ดัชนีขีดความสามารถของท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ ปี 2566 ระบุว่าในปี 2566 มีเรือเทียบท่ามากกว่า 182,000 ลำและ มีเรือ ผ่านท่ามากกว่า 238.20 ล้านครั้ง และมีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าประมาณ 381 ล้าน ทีอียู
จากรายงานดังกล่าวได้ประเมินค่าดัชนีจากขีดความสามารถในการรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดต่าง ๆ และระยะเวลาที่เรือต้องใช้ในท่าและจัดอันดับท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ 405 แห่งทั่วโลก โดยท่าเรือที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ ท่าเรือ Yangshan ประเทศจีน (ได้อันดับที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่สอง) อันดับ 2 ท่าเรือ Salalah ประเทศโอมาน อันดับ 3 ท่าเรือ Cartagena ประเทศโคลัมเบีย อับดับ 4 ท่าเรือ Tanger-Mediterranean ประเทศโมร็อกโก และอันดับ 5 ท่าเรือ Tanjung Pelepas ประเทศมาเลเซีย
ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังของไทยอยู่ในอันดับ 46 โดยข้อมูลจากแดชบอร์ดธุรกิจโลจิสติกส์ ของ สนค. ระบุว่า ในปี 2566 ไทยมีการค้าระหว่างประเทศ ทางเรือมูลค่า 13.45 ล้านล้านบาท คิดเป็น 67.6% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด โดยเป็นการค้าผ่านท่าเรือแหลมฉบังสูงสุดมูลค่า 9.98 ล้านล้านบาท มีเรือผ่านท่าเรือดังกล่าว 11,662 ครั้ง และตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่า 8.87 ล้านตู้ ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน มาเลเซียก็อยู่ระหว่างการพัฒนาท่าเรือกลัง รวมถึงวางแผนจะสร้างท่าเรือแห่งใหม่บริเวณกลาง ชายฝั่งตะวันตก ใกล้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่รัฐบาลอินเดียอนุมัติงบประมาณและอยู่ระหว่างการพัฒนาท่าเรือวาดาวัน ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียใกล้กับปากอ่าวเปอร์เซียและแอฟริกาใต้ซึ่งมีความสำคัญในเส้นทางเดินเรือของโลก เพิ่มขึ้นนับแต่เหตุความไม่สงบในทะเลแดง
ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศทางเรือทั่วโลกยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเรือและตู้คอนเทนเนอร์ทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น โดยมีปัจจัยคือการเร่งส่งออกของผู้ส่งออกจีน และการเปลี่ยน เส้นทางเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งใช้เวลาเดินทางนานขึ้น พัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการขนส่งสินค้าทางบก รถไฟสาย ASEAN Express
ซึ่งเป็นระบบรถไฟขนส่ง สินค้าเชื่อมระหว่างมาเลเซีย ไทย สปป.ลาว ถึงนครฉงชิ่งประเทศจีน ได้เปิดให้บริการครั้งแรกโดยใช้เวลาเพียง 9 วัน เมื่อเทียบกับทางทะเลที่ใช้เวลา 14-21 วัน และลดต้นทุนได้ประมาณ 20% รวมถึงเปิดโอกาสให้ขนส่งสินค้าไปถึงยุโรปได้ในเวลาเพียง 14-21 วัน เมื่อเทียบกับการขนส่งทางทะเลที่ต้องใช้เวลา 45 วัน
สำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน ล่าสุด ทางการจีนได้เปิด ด่านตงชิงให้สามารถตรวจปล่อยสินค้าเกษตรได้ โดยด่าน ดังกล่าวอยู่ห่างออกไปจากด่านโหย่วอี้กวนประมาณ 80 กิโลเมตร มูลค่าการค้าระหว่างประเทศการขนส่งทางเรือ เดือน มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้ารวม 1,155,126 ล้านบาท สัดส่วน 64.6% การเติบโต -0.3% โดยมีตลาดสำคัญได้แก่ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น
สำหรับแนวโน้มความเสี่ยงทางไซเบอร์ของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในช่วงที่ผ่านมาการค้าระหว่างประเทศเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในโลกทั้งความตึงเครียดทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจ ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี นวัตกรรม
อย่างไรก็ดี รายงานการค้าโลกฉบับล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2567 โดยการประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้ม ทางการค้าโลกที่ดีขึ้น ทั้งในการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ ซึ่งกลับมาโตขึ้นในช่วงไตรมาสแรก โดยในปี 2566 ขนาดตลาดโลจิสติกส์โลกมีมูลค่า 8.46 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ก็อาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากภูมิรัฐศาสตร์โลก ค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น และแนวโน้มนโยบายของแต่ละประเทศซึ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรม ภายในประเทศ และการเพิ่มข้อจำกัดทางการค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายนี้มีแนวโน้มสำคัญที่มีผลต่อการเติบโต ของภาคโลจิสติกส์ อาทิ
ความยั่งยืน เป็นแนวโน้มสำคัญในภาคบริการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยการใช้พลังงาน ทางเลือก รถไฟฟ้า และการชดเชยทางคาร์บอน เพื่อให้การขนส่งมีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 24 และสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรปคาดการณ์ว่าหากไม่มีมาตรการ
และการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพภาคโลจิสติกส์โลกจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 40% ภายในปี 2573 ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบโลจิสติกส์จึงต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้อง กับแนวโน้มความยั่งยืนของโลก และอาจถือเป็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนและเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าที่มีแนวโน้มใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
การขยายตัวของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) การเติบโตของ e-commerce ทำให้เกิดความต้องการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่ง AI สามารถเรียนรู้ระบบการดำเนินงานที่ซับซ้อนและสามารถวิเคราะห์ ข้อมูลปริมาณมากที่อยู่ในแพลตฟอร์ม e-commerce
โดยจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยทางการตลาด Grand View Research ระบุว่า ขนาดตลาด AI ในปี 2566 มีมูลค่า 1.96 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 36.6% ตั้งแต่ปี 2567-2573 โดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ DHL กำลังนำ AI ปรับเข้ากับการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและยกระดับ ประสบการณ์ลูกค้าผ่าน e-commerce
ธุรกิจการขนส่งมีการปรับตัวโดยการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์ และ IoT โดยมากกว่าหนึ่งใน 3 ของธุรกิจโลจิสติกส์ทั่วโลกลงทุนกับระบบการจัดการ ด้านห่วงโซ่อุปทาน และผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งกว่า 80% ที่ให้ความเห็นในรายงานการสำรวจของรอยเตอร์และแพลตฟอร์มด้านโลจิสติกส์
CargoWise ระบุว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีของแต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2563 และมีแนวโน้มจะเพิ่มหรือคงระดับการลงทุนไว้เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวสามารถช่วยให้ลดต้นทุนได้ถึง 20%
อย่างไรก็ตามในรายงานที่ CyberOwl บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จัดทำร่วมกับ HFW บริษัทกฎหมายระดับโลกแสดงให้เห็นว่าการปรับเป็นระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วของธุรกิจการขนส่ง มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์โดยในปี 2565 ธุรกิจการขนส่ง ทางเรือมีการจ่ายค่าประกันข้อมูลมากขึ้นถึง 467% ซึ่งเป็นผลมาจากการเชื่อมต่อและพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มากขึ้นทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้น ต่อการโจมตีทางไซเบอร์ Highlight
ประเด็นสำคัญแนวโน้มความเสี่ยงทางไซเบอร์ของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ตัวอย่างเหตุการณ์จากการคุกคามทางไซเบอร์ต่อการขนส่งการโจมตีจากแรนซัมแวร์ในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ท่าเรือเมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ต้องหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน ส่งผลกระทบต่อการค้า 10% ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกการโจมตีทางไซเบอร์ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ท่าเรือหลัก 4 แห่งของบริษัทขนส่ง DP World ในออสเตรเลียท าให้ต้องหยุดท าการเป็นเวลา 3 วัน และเกิดการสะสม ของตู้คอนเทนเนอร์มากกว่า 30,000 ตู้ และขนส่งล่าช้าสูงสุดถึง 10 วัน
แนวทางการรับมือกับความสี่ยงทางไซเบอร์ลงทุนกับเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยอาจมีการร่วมมือกับ ผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมและ เทคโนโลยี และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ เพื่อเพิ่มการป้องกันการใช้เทคโนโลยี ในห่วงโซ่อุปทานโลจิสติกส์อบรมและให้ความรู้บุคลากรในองค์กร ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีในปัจจุบันและความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดจากความผิดพลาดภายในองค์กรคิดค้นแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น หากเป็นธุรกิจความเสี่ยงสูง อาจลงทุนกับการประกันภัยให้มากขึ้นหรือใน ธุรกิจที่มีการร่วมมือกับคู่สัญญาอาจร่างสัญญาที่ระบุผู้รับผิดชอบเมื่อข้อมูลรั่วไหลจากการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 14 สิงหาคม 2567