ส.เอสเอ็มอี เสนอ 7 มาตรการ นายกอิ๊งค์ เร่งเครื่อง ระบบนิเวศน์เศรษฐกิจฐานราก เผชิญสภาวะวิกฤติ
วันที่ 2 กันยายน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาพันธ์ฯได้เตรียมปัญหาและข้อเสนอแนะต่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หลังเข้าปฎิบัติหน้าที่แล้ว โดยโจทย์ใหญ่รอรัฐบาลเร่งเครื่องเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์เศรษฐกิจฐานรากที่รองรับการเผชิญสภาวะวิกฤติทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และแรงงานนอกระบบได้รับผลกระทบที่ไร้วัคซีนสร้างภูมิต้านทานความเสี่ยงรอบด้าน ประกอบด้วย
ส่วนแรก 1 :
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ที่คำนึงถึงความสำคัญของเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มรายได้ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1) กำหนดนิยามเอสเอ็มอีของ สสว.ที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานของการเก็บข้อมูลและมีตัวชี้วัดที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กระทรวง กรม สถาบันการเงิน เป็นต้น เพื่อการออกแบบนโยบายและมาตรการที่ขับเคลื่อนได้อย่างบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาของเศรษฐกิจฐานรากของประเทศและ
2)การกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมุ่งเน้นการปรับโครงสร้าง GDP ของประเทศโดยเพิ่มสัดส่วน GDP SME ที่กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นที่มีตัวชี้วัดตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 7 จากเดิมร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2570 โดย GDP SME ในแต่ละขนาดขาดการกระจายรายได้ที่ดี ในส่วนนี้ 1. GDP รายย่อย (Micro) มีสัดสวนเพียงร้อยละ 3 ของ GDP ทั้งประเทศ แต่มีผู้ประกอบการถึง 2.7 ล้านรายหรือร้อยละ 85 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ จ้างงาน 5.5 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของการจ้างงานภาคเอกชน
ส่วน 2 :
GDP รายย่อม (Small) มีสัดสวนร้อยละ 14 ของ GDP ทั้งประเทศมีผู้ประกอบการ 420,000 รายหรือร้อยละ 13 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ จ้างงาน 5 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของการจ้างงานภาคเอกชน 3. GDP รายกลาง มีสัดสวนร้อยละ 18 มีผู้ประกอบการ 44,000 ราย หรือ ร้อยละ 1.4 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ จ้างงาน 3.2 ล้านคนหรือร้อยละ 13 ของการจ้างงานภาคเอกชน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมุ่งเน้นความยั่งยืนที่จะทำให้กลุ่มเปราะบาง เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน เกษตรกรและแรงงานอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
ส่วน 3. SME Glocalization สร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท้องถิ่นให้เติบโตต่อเนื่องไปยังตลาดโลก โดยขยายสัดส่วนและจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่งออกทางตรง (SME Exporters) จากปัจจุบัน SME Exporters มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13 ของมูลค่าการส่งออกทั้งประเทศ และจำนวนเอสเอ็มอีส่งออกทางตรงมีเพียงราว 23,000 ราย ขณะที่การส่งเสริมความเข้มแข็งของเอสเอ็มอีที่ดำเนินธุรกิจการค้าชายแดนและส่งออกต้องมีกลไกสนับสนุนอย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพ เข้าถึงมาตรฐานสากล ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลิตภาพ และขยายตลาดเดิมเชื่อมตลาดใหม่เอื้อต่อการนำพาเอสเอ็มอีและภาคแรงงานฝีมือไปขยายธุรกิจในต่างประเทศ
ส่วนที่ 4 SME Branding & IP กับหน่วยงานรัฐที่ต้องขยับการส่งเสริมด้วยระบบโค้ข ที่ปรึกษา พี่เลี้ยงด้านการสร้างภาพลักษณ์สินค้าที่ดี การสร้างแบรนด์สินค้าและบริการ แบรนด์องค์กร แบรนด์ CEO ไทย และแบรนด์ประเทศไทยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตราสินค้า ทรัพย์สินทางปัญญาเชื่องโยงขยายผลให้เกิดประโยชน์ทางรายได้เพิ่มและความไว้วางใจจากผู้บริโภคและตลาดโลก
นายแสงชัย กล่าวว่า 2. มาตรการลดต้นทุน ภาระค่าครองชีพของประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคแรงงาน นั้น
1)Local Economy ส่งเสริมการค้าการลงทุนเพื่อผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าและให้บริการในประเทศ โดยทดแทนการนำเข้า “ไทยผลิตเอง ไทยใช้เอง พึ่งพาตนเอง” โดยเฉพาะสินค้าเกษตร วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตที่ประเทศไทยสามารถยกระดับได้ และมีแหล่งทุนต้นทุนต่ำสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
2)ปรับโครงสร้างพลังงานน้ำมันและไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) อย่างจริงจังเร่งด่วน ประกอบด้วย พลังงานน้ำมัน ทบทวนโครงสร้างต้นทุน และราคาขายที่เป็นธรรมกับประชาชน อาทิ การเจรจารัฐต่อรัฐที่สามารถจัดหาแหล่งน้ำมันดิบราคาถูกกว่า เงื่อนไขการค้าที่ดีกว่าเดิม การคำนวณค่าการกลั่น ค่าการตลาด และภาษีแต่ละประเภทที่จะช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนและต้นทุนผู้ประกอบการทุกภาคส่วน พลังงานไฟฟ้า แผน PDP ที่ยังคงขยายโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่โครงสร้างแหล่งพลังงานไฟฟ้าไทยมีการใช้พลังงานฟอสซิลราวร้อยละ 75 และพลังงานสีเขียวร้อยละ 25 ต้องขยายสัดส่วนพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้นทั้งการใช้พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น ต้องกระจายโอกาสสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าให้ภาคประชาชน ชุมชน และผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
นายแสงชัย กล่าวว่า 3. มาตรการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำและการแก้ไขหนี้ทั้งระบบอย่างเป็นระบบ เพิ่มคุณภาพหนี้ครัวเรือน ลดหนี้นอกระบบ อัตราดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยรายย่อยที่เป็นธรรม Q1/2567 หนี้ในระบบ 53% หนี้ Hybrid 11% หนี้นอกระบบ 36% Q2/2567 หนี้ในระบบ 40% หนี้ Hybrid 21% หนี้นอกระบบ 39% จากข้อมูลการสำรวจของ สสว. Q1/2567 เปรียบเทียบกับ Q2/2567 พบว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเอสเอ็มอีที่ใช้แหล่งทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงหนี้ในระบบลดลง
ขณะที่หนี้แบบ Hybrid คือ ใช้ทั้งในและนอกระบบร่วมกันมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนถึง 10% และหนี้นอกระบบก็ขยับเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน แต่หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มรายย่อย Q2/2567 จะพบว่าสัดส่วนนอกระบบสูงถึง 46% หนี้ Hybrid 20% และหนี้ในระบบเพียง 34% เรื่องนี้
1)แต้มต่อดอกเบี้ยเอสเอ็มอี 3 ขนาด รายย่อย รายย่อม และรายกลางที่ต้องออกแบบให้สถาบันการเงินของรัฐ และ บสย. เข้ามาช่วยเหลือในการค้ำประกันสินเชื่อ และมีนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบที่ตอบโจทย์เอสเอ็มอี
อาทิ บัตรเครดิตเพื่อเครดิตการค้าใช้สำหรับเพิ่มสภาพคล่องทุนหมุนเวียนกิจการเอสเอ็มอีเพื่อซัพพลายเชน กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐที่ต้องสามารถนำ บสย.เข้ามาร่วมสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อ และสามารถใช้กองทุนนี้ทำระบบ Factoring – OD เพื่อเครดิตการค้าเอสเอ็มอีโดยมีค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยต่ำเป็นต้น ลดการพึ่งพาสินเชื่อส่วนบุคคล พิโก นาโนไฟแนนซ์ และหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น และ
2)กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเอสเอ็มอีไทย ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักกับการแก้ไขหนี้ทั้งระบบอย่างเป็นระบบ ศูนย์เจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ การขายทอดตลาดที่เป็นธรรม ร่วมกับการพัฒนาเอสเอ็มอีในกลุ่มฟื้นฟูและพัฒนาเอสเอ็มอีก่อให้เกิดรายได้เพิ่มโดยใช้ Soft Power Creative Industry BCG Economy สร้างฐานองค์ความรู้ใหม่ ถอดบทเรียน แผนธุรกิจที่ Restart ได้อย่างยั่งยืนมีภูมิคุ้มมกันโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการบริหารจัดการ
นายแสงชัย กล่าวว่า 4. มาตรการยกระดับขีดความสามารถกำลังคนในประเทศ ผู้ประกอบการ แรงงานและเกษตรกรให้มีผลิตภาพ ศักยภาพด้วยการพัฒนาทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี ความสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเพิ่มขึ้นสามารถแข่งขันได้การพัฒนาขีดความสามาถกำลังคน เราทำได้เพียงครึ่ง (2.5 ล้านคน) ของความต้องการการพัฒนาปีละ 5 ล้านคน ควรเพิ่มงบประมาณ มุ่งเป้าเรื่องนี้ เหมือนตัวอย่างในประเทศสิงคโปร์ Future Skills Singapore ได้แก่
1)ขึ้นทะเบียนแรงงานนอกระบบ และจัดระบบสวัสดิการแรงงานลดค่าครองชีพจูงใจแรงงานนอกระบบเข้าระบบเพื่อการพัฒนายกระดับทักษะ สมรรถนะ ขีดความสามารถอย่างยั่งยืนรวมทั้งเป็นฐานข้อมูลแรงงานบริหารจัดการจ้างงานที่เป็นธรรม
2)บ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควบคู่แรงงานและจัดให้มีระบบการประเมินรวมทั้งให้ Skill – Competency Credit Scoring เพื่อจับคู่งาน จ้างงานที่ได้รับค่าแรงที่เหมาะสม และมีช่องทางกลไกในการยกระดับทั้งคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มาตรฐานวิชาชีพ ผลิตภัณฑ์ บริการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AI การปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ การใช้งานวิจัย นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายสู่ตลาดใหม่
นายแสงชัย กล่าวว่า 5. มาตรการแก้ไขปัญหากฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่ต้องจัดลำดับความสำคัญและหน่วยงานเจ้าภาพที่ชัดเจนพร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน นั้น
1)TDRI ฉบับที่ 175/2564 กับวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนการที่เกี่ยวกับการอนุญาตเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการขออนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชนที่ต้องมีเจ้าภาพหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนและสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการขอใบอนุญาตที่ล้าสมัย การส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย การส่งเสริมนวัตกรรมและธุรกิจบริการ การส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมสวัสดิการและส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ เป็นต้น
2)Digital Blockchain ภาครัฐ ในการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการออกแบบนวัตกรรมนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามรถเข้าไปใช้ร่วมกันด้วยได้ แก้ไขปัญหาของประเทศอย่างเป็นระบบและทันท่วงทีเพื่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมุ่งเป้าตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 13 ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน
นายแสงชัย กล่าวอีกว่า 6. มาตรการปกป้องเศรษฐกิจไทยจากทุนข้ามชาติที่ต้องทบทวนยุทธศาสตร์สร้างสมดุลเศรษฐกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลงไม่เป็น “อาณานิคมทางเศรษฐกิจต่างชาติ จนผู้ประกอบการถูกกลืนกินพึ่งพาตนเองไม่ได้” ปัญหาการแข่งขันทางการค้าและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ผู้ประกอบการและประชาชนไทยต้องพร้อมลุกขึ้นต่อสู้ ทั้งเรื่อง 1. อาชญากรรมเศรษฐกิจนอกระบบ สินค้าที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง หลบเลี่ยงภาษี ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในประเทศที่ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย และมูลค่าเศรษฐกิจนอกระบบของไทยเกือบร้อยละ 50 ของ GDP ทั้งประเทศ 2. ทัวร์ศูนย์เหรียญ 3. การผุดของค้าปลีกและบริการสัญชาติจีน อาทิ ห้วยขวาง – เยาวราช – สำเพ็ง – นครราชสีมาโมเดล
รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้างทุนจีน กว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อปล่อยเช่าและขายให้กับคนจีน รวมทั้งใช้นอมินีไทยเข้ามาดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่สำคัญ ล้งจีน กำลังผูกขาดครอบงำการเกษตรและการค้าผลไม้ไทย โลจิสติกส์จีนรุกผู้ประกอบการขนส่งไทย แพลตฟอร์ม TEMU ไม่ใช่รูปแบบการค้าออนไลน์รายแรกของจีน แต่มีนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่ตอบโจทย์ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจดิจิทัล และ เศรษฐกิจลัดวงจร ที่ลดห่วงโซ่การค้าและการตลาด ซึ่ง TEMU 2 ปีในตลาดสหรัฐโดยรายได้กว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐทำให้ Amazon ปั่นป่วน กระทบเอสเอ็มอีสหรัฐ ที่อยู่ในห่วงโซ่การค้าดั้งเดิมเช่นกัน การเข้ามาของ TEMU ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีไทยออนไลน์ที่เป็นผู้ขาย
” ปัญหาต้องเร่งจัดการของรัฐบาล ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน ไม่ใช่กีดกันแต่เป็นการปกป้องเศรษฐกิจไทยจากการรุกคืบที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นมิตรกับผู้ประกอบการไทย การใช้กลไกแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ในการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาทั้ง 7 เรื่องดังกล่าวข้างต้นจะเป็นอีกกลไกในการแก้ปัญหานี้ร่วมกันด้วยสายน้ำไม่คอยท่า กาลเวลาไม่คอยใคร จะเร่งช่วยกันแก้ไขวันนี้หรือจะรอให้สายเกินแก้” นายแสงชัย กล่าว
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 2 กันยายน 2567