เปิดกลยุทธ์เวียดนาม ปฏิวัติวงการส่งออกข้าว
เจาะลึก กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพข้าวของเวียดนาม ที่ทำให้ยอดส่งออกพุ่งทะยาน แม้เผชิญความท้าทายด้านสภาพอากาศ
นายโด ฮา นัม รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม เปิดเผยว่า ภาพรวมข้าวของเวียดนาม ในช่วงปี 2022-2023 ประเทศเวียดนามมีการเพาะปลูกในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแดง ซึ่งในบริโภคในประเทศ และ สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขง มีการส่งออก 50%
ขณะที่สถิติพื้นที่และผลผลิตคล้ายเดิม แต่เทรนการส่งออกมีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าผลิตเหมือนเดิม แต่มีการนำเข้าข้าวจากอินเดีย
สำหรับตลาดส่งออกใหญ่ คือ เอเซียน 71% แอฟาริกา 20% สหรัฐ 11.25% เมื่อดูประเทศนำเข้าข้าวของเวียดนาม พบว่าฟิลิปปินส์นำเข้ามากที่สุด 38.55% รองลงมาคือ อินโดนิเซีย 14.34% ขณะที่ประเภทข้าวที่มีการส่งออก ส่วนใหญ่ข้าวหอม ข้าวหอม OM ข้าวขาว และข้าวหัก
ทั้งนี้ ด้านการผลิตและแปรรูปในเวียดนามพยายามพัฒนาให้เป็นข้าวมี่มีคุณภาพมาก ทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ประมาณ 70% การเปลี่ยนแปลงทำให้การส่งออกข้าวประสบความสำเร็จมากในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้เวียดนามยังมีความหลากหลายของประเภทข้าวเปลือก คือข้าวหอม ข้าวเหนียว หากดูสถิติจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท จะเห็นได้ว่าข้าวเปลือกมีปริมาณผลผลิต 43-45 ล้านตัน ซึ่งมีการส่งออก 13-14 ล้านตัน
ขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง เนื่องจากมีการปลูกอย่างอื่นทดแทน มีการเพิ่มพื้นที่เมือง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทั้งภัยแล้ง นภาวะน้ำเค็ม และพายุ
ปัจจุบันช่วง ม.ค-ส.ค. ปี 2024 เวียดนามมีการส่งออกข้าว ปริมาณ 6.150 ล้านตัน เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 6% ซึ่งส่งออกไปอินโดนิเซีย กับฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นเยอะมาก
ส่วนภาพรวมที่เหลืออีก 3-4 เดือน การส่งอออกข้าวของเวียดนาม แม้ว่าตลาดยังมีความต้องการข้าวสูง แต่ก็มีปัจจัยที่กระทบต่อการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ จากภาวะเอนิโญ เอนิญา พายุใต้ฝุ่นยางิ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตอนเหนือ สูญเสียข้าว 1 ล้านตัน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบที่ส่งผลต่อการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับกัมพูชา คือกรณีฝนตกหนัก ส่งผลให้การข้าวมีคุณภาพลดลง แต่ก็มีความหวังว่าราคาข้าวในท้องถิ่นจะสูงขึ้น อาจจะส่งผลต่อการส่งออก เพราะปริมาณข้าวหายไป
อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่อยากให้ราคาข้างสูง เพราะชาวนาไม่ได้รับผลดี ถึงแม้จะมีการส่งออกถ้าเกิดราคาสูง อาจจะยังไม่มีข้าวมากเพียงพอ เนื่องจากข้าวส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ โดยสรุปกลยุทธ์รัฐบาลเวียดนาม เราไม่ได้โฟกัสปริมาณมาก แต่โฟกัสเพิ่มคุณภาพ ก็พยายามเปลี่ยนพื้นที่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 19 กันยายน 2567