ยกระดับแฟชั่นไทยสู่ Soft Power ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เว็บไซต์ Research and Markets เผยการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายทั่วโลกปี 2566 มีมูลค่า 655.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในปี 2567 จะเติบโตสูงถึง 703.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัว คือ การได้รับประโยชน์จากการใช้ Artificial Intelligence (AI) และ Generative AI (Gen-AI)
ปัจจุบัน บริษัทเครื่องแต่งกายทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยได้นำเทคโนโลยี Gen-AI มาช่วยในการทำงานบ้างแล้ว โดยขอยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AI และ Gen-AI มาใช้ในธุรกิจแฟชั่น มี 4 ด้าน ดังนี้
(1) การวิเคราะห์เทรนด์ : เทคโนโลยี AI สามารถประมวลภาพในงานเดินแบบ ประวัติการค้นหาผู้บริโภค ยอดสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าทั้งแบบ Online และ In-Store รวมถึงภาพและข้อความต่าง ๆ บนช่องทาง Social Media ช่วยผู้ผลิตในการวางแผนการออกแบบสินค้า
และช่วยคาดการณ์ปริมาณการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดเพื่อลดปัญหาขยะจากเสื้อผ้าเหลือทิ้ง ตัวอย่างแพลตฟอร์ม AI ที่หลายประเทศนำมาใช้แล้ว เช่น Heuritech จากฝรั่งเศส และ Trendalytics จากสหรัฐอเมริกา
(2) การออกแบบ : โดยใช้ AI ออกแบบแพตเทิร์นการตัดเย็บ ปรับแต่งรายละเอียด รวมถึงคำนวณประเภทและปริมาณวัสดุที่เหมาะสม เช่น เนื้อผ้า ขนาด และความยืดหยุ่นของวัสดุ
ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับสินค้า ลดการใช้ทรัพยากร และลดขยะในการพัฒนาสินค้าต้นแบบ โดย Nike ใช้เทคโนโลยี AI รวบรวมและเปรียบเทียบภาพรองเท้ารุ่นก่อนหน้า เพื่อออกแบบเป็นโมเดลรองเท้ารุ่นใหม่และการจำลองภาพด้วยเทคโนโลยี 3D Printing
ที่มา globthailand
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567