สงครามภาษีเทคโนโลยีจีน ประเทศไหนบ้างที่กีดกัน
สงครามภาษีเทคโนโลยีจีนปะทุ หลายประเทศทั่วโลกกำลังกีดกันสินค้าเทคโนโลยีจากจีนด้วยการเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ช่วงปี 1970 จีน กลายเป็น "โรงงานของโลก" เมื่อให้ผู้ผลิตจากต่างประเทศตั้งโรงงานและผลิตสินค้าราคาถูกภายในพรมแดน ในช่วงแรกโรงงานของจีนผลิตสินค้าราคาต่ำ เช่น ของเล่นพลาสติก จากนั้นจึงผลิตสินค้าที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สมาร์ทโฟน รถยนต์สำหรับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Apple, Tesla และ Volkswagen
อุตสาหกรรมของจีนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผลิตสินค้าเทคโนโลยีราคาแพงด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งในตะวันตก เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหลายพันล้านดอลลาร์ผลักดันให้ "เศรษฐกิจจีน" พึ่งพาตนเองในการผลิตขั้นสูงได้
ปี 2019 เพียงปีเดียว รัฐบาลจีนใช้จ่ายเงินในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 4.06 แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 2% ของ GDP ซึ่งมากกว่าที่สหรัฐฯ ใช้จ่ายในภาคอุตสาหกรรมเกือบ 5 เท่า
สินค้าราคาถูกของจีน ท่วมตลาด :
มีความกังวลว่า "สินค้าราคาถูกของจีน" อาจท่วมตลาด ทำให้เกิดการขาดดุลการค้ามากขึ้น และทำให้ผู้ผลิตต้องตกที่นั่งลำบาก
ก่อนปี 2018 แทบจะไม่มีการจัดเก็บภาษีศุลกากรทั่วโลก ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีจีน ในปีนั้น สหรัฐฯ เปิดสงครามการค้ากับจีน โดย ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ท้าทายจีนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้าที่ "ไม่เป็นธรรม”
สหภาพยุโรปและสหรัฐ วิพากษ์วิจารณ์มายาวนานว่า การอุดหนุนที่จีนเสนอให้อุตสาหกรรมนั้น ทำให้มี สินค้าราคาถูกล้นตลาดโลก ซึ่งส่งผลต่อการค้า แต่จีนก็โต้แย้งว่าอุตสาหกรรมของตนเพียงแค่การมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และรัฐบาลไม่ควรขัดขวางสินค้าที่มีคุณค่าสำหรับผู้บริโภค จีนได้กำหนดภาษีตอบโต้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่เรียกเก็บภาษีสินค้าของตน
ทรัมป์เตรียมกำหนดภาษีศุลกากรใหม่ :
ขณะนี้ทรัมป์เตรียมที่จะกำหนดภาษีศุลกากรใหม่สำหรับสินค้าต่างประเทศให้เป็นส่วนสำคัญของแผนเศรษฐกิจของสหรัฐ ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง โดยเสนอให้กำหนดภาษีศุลกากรสากล 10%–20% สำหรับสินค้าต่างประเทศส่วนใหญ่ภาษีศุลกากร 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา และภาษีศุลกากรเพิ่มเติมสำหรับสินค้าจีน
ประเทศที่พัฒนาแล้วที่ไม่ใช่ชาติตะวันตก เช่น อินเดีย ตุรกี และเวียดนาม ก็ได้กำหนดภาษีศุลกากรที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่นกัน สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการนี้
แต่ไม่ใช่ประเทศเดียวที่มองว่าการค้าของจีนไม่ยุติธรรม และใช้ภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องและสร้างแรงจูงใจให้กับซัพพลายเออร์รายอื่น
ปี 2024 ประเทศต่างๆ ประกาศใช้ภาษีศุลกากรเพื่อหยุดยั้งการนำเข้าเทคโนโลยีจากจีน รวมถึงเทคโนโลยีสีเขียว เช่น แผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของตน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้กำหนดข้อจำกัดซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเทคโนโลยีของจีน
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 13 ธันวาคม 2567