หอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรม ฉายภาพเศรษฐกิจไทยปี 67 ยังเจอความท้าทายโลก แต่สัญญาณบวกยังมี
งานสัมมนา "The Better Future Forward 2024" จัดโดยสำนักข่าว The Better ในโอกาสขึ้นสู่ปีที่ 2 ณ Next Stage ศูนย์การค้าสยามพารากอน พร้อมด้วยกูรูผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทย
โดยเตรียมเดินหน้าไปสู่อนาคต ด้วยในปี 2567 ยังมีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัยลบและบวก ที่กระทบภาคธุรกิจและประชาชน ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ในหัวข้อ ‘ความท้าทายใหม่ของภาคธุรกิจไทย ปี 2024’
สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2567 ยังต้องเจอกับความท้าทายต่างๆ ทั้งจากปัจจัยภายนอกด้านสถานการณ์โลก ที่มีผลต่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยทั้งภาคการส่งออก และการท่องเที่ยว ด้วยในปี 2566 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยมีอัตราติดลบ ซึ่งในปี 2567 นี้ ภาครัฐและเอกชนต่างมีคามพยายมผลักดันการส่งออกให้กลับมาเป็นบวกเพิ่มขึ้น 2-3 %
โดยจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ในประเทศไทยให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยตรง (FDI) เพื่อเพิ่มผลผลิตภายในประเทศและนำไปสู่ปริมาณการส่งออกได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังต้องติดตตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโลกอย่างใกล้ชิด ที่จะกระทบยังเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งด้านปัญหาภูมิศาสตร์ทางการเมือง (Geopolitics) จาก2 สงครามยูเครน-รัสเซีย , ฮามาส-อิราเอล และการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในหลายประเทศที่จะเกิดขึ้นรวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในปีนี้
แรงงานมีฝีมือคืออนาคต รับสังคมสูงวัย :
ขณะที่ในประเทศไทยนับจากนี้ไป จะต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ จากจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง โดยฝ่ายเกี่ยวข้องจะต้องเร่งหาแนวทางรับมือ ไปจนถึงการทบทวนราคาต้นทุนในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพรวมที่สูงขึ้น ทั้งค่าพลังงาน ค่าสาธารณูปโภค การปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ อัตราใหม่ เป็นต้น ที่จะต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับแรงงานรุ่นใหม่ที่ลดลงในอนาคต เช่นกัน
ทั้งนี้ ภาคแรงงานเองจำเป็นต้องปรับเพิ่ม ทักษะ การทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเติบโตอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตไปพร้อมกัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม จากธุรกิจข้ามชาติที่มองหา ‘Young Talent’ บุคคลากรท้องถิ่นที่มีฝีมือ และพร้อมจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงให้กับแรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งถือเป็นโอกาสอนาคตของประเทศไทยในอนาคต เช่นกัน ที่จะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรกลุ่มนี้ออกมารองรับ เพื่อผลักดันสู่อนาคตที่สดใส
พร้อมกล่าวอีกว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญในการผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ นอกเหนือจากรักษาตำแหน่งไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวสำคัญของโลก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่ครองอันดับ1 เมืองหลวงที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดอันดับ 1 ของโลกแซงเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปีที่ผ่านมาไทยมีนักเดินทางต่างชาติเข้าประเทศอยู่ที่ 27-28 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจากมาตรการวีซ่าฟรีให้กับนักท่องเที่ยวจีนและเศรษฐกิจในจีนที่ฟื้นตัวขึ้น จะผลักดันให้คนจีนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและเดินทางมาไทย พร้อมเพิ่มการจับจ่ายรายหัวเป็น 57,000 บาทจากเดิมอยู่ที่ 40,000 บาท
รวมไปถึงการขยายเศรษฐกิจการท่องเทียวในเมืองรอง ที่ขณะนี้รัฐบาลไทย และหอการค้าฯ เตรียม เปิดรายชื่อ 10 เมืองรอง ประกาศปั้นสู่เมืองหลัก ดังนี้ นครศีธรรมราช ศรีษะเกษ จันทบุรี ตรัง ราชบุรี นครสวรรค์ แพร่ กาญจนบุรี นครพนม และ ลำปาง เพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวในลำดับต่อไป ด้วยเช่นกัน
ดอกเบี้ยขาขึ้น ชะลอตัว :
ด้าน เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในปี2567 คาดมีสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งในและต่างประเทศ จากอัตราดอกเบี้ยเตรียมเข้าสู่ภาวะขาลง หลังธนาคารสหรัฐอเมริกา (เฟด) ได้ส่งสัญญาณออกมาเตรียมประกาศหยุดอัตราดอกเบี้ย จากในช่วงที่ผ่านได้ประกาศลดดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้ง
ด้วยตลอดในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นมาต่อเนื่อง กระทบยังต้นทุนการดำเนินธุรกิจในทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประกาศดอกเบี้ยนโยบายอัตรา 2.5% ในปีที่ผ่านมา กระทบทุกภาคส่วนธุรกิจรวมถึงภาคเอสเอ็มอีไทย
รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศจากผลกระทบทางสงครามใหม่อย่าง ฮามาสและอิราเอล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของโลก ที่กระทบต้นทุนขนส่งจากค่าระวางเรือสินค้าปรับเพิ่มขึ้น 5-6 เท่าตัว หรืออยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริการต่อตู้คอนเทนเนอร์ จากก่อนหน้าอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้คอนเทนเนอร์ ด้วยต้องใช้ระยะเวลาการเดินเรือสินค้าที่ยาวขึ้นจากเดิมราว 2 สัปดาห์
ลุ้นเศรษฐกิจจีนเติบโต :
นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยสงครามการค้า (Trade War) และ สงครามทางเทคโนโลยี (Tech War) ด้วยปีนี้เชื่อว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ประเทศจีนจะลดลง อยู่ที่ 4-7% ส่งผลกระทบการส่งออกลดลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้จีนต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจด้วยกำลังซื้อในประเทศลดลง และมีผลต่อภาคการท่องเที่ยวในหลายประเทศรวมถึงไทย จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจชะลอตัวลง
รวมไปถึงการดิสรัปต์ทางเทคโนโลยีใหม่ที่ยังมีต่อเนื่อง ปัจจัยเงินเฟ้อ ที่ส่งผลต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
ดึงนักลงทุนใหม่ต้องแก้ไขกฎหมาย :
เกรียงไกร กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าของไทยเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามา (FDI) ได้นั้น จำเป็นอย่างมากต่อการลดขั้นตอนความยุ่งยาก ที่จะเป็นอุปสรรคต่างๆ ต่อการลงทุน โดยเฉพาะข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ในหลายฉบับที่มีความล้าสมัย และจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย เพื่อเอื้อต่อการลงทุนและการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยไปต่อข้างหน้า และสนับสนุนให้จีดีพีไทยปรับขึ้นได้ทันทีอีก 200,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ที่ตัดกฎหมายที่ไม่จำเป็นออกไปกว่า 48% จนผลักดันไปสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Corridor) ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันประเทศไทย ยังต้องเร่งสนับสนุนการไปสู่การเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมแห่งอนาคตต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างยั่งยืนในอนาคต
โดยจะต้องไปพร้อมกับการเพิ่มผลผลิตภาคธุรกิจจากศัยภาพแรงงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้ไทยเป็นประเทศที่จิ๋วแต่จิ๋ว ด้วยการเพิ่มทมักษะด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาปฏรูปในระบบการศึกษา เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และอิสราเอล ที่แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรน้อยเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจประเทศที่เติบโตสูง
รับชมข้อมูลเพิ่มเติม
TAGS: #The #Better #เดอะเบทเทอร์ #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา thebetter.or.th
วันที่ 25 มกราคม 2567