รู้จัก BRICS กับเหตุผลที่ไทยต้องเข้าเป็นสมาชิกb
จากการที่ที่ประชุม ครม. มีมติให้ความเห็นชอบร่างหนังสือ แสดงความประสงค์ของไทย ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567
โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการแถลงข่าวว่า กลุ่ม BRICS มีนโยบายขยายความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก โดยมีแผนจะเชิญประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าร่วมในกลไกของกลุ่มในการประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 16 ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2567 จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะเร่งเดินหน้ากระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม เพื่อยกระดับบทบาทของไทยในฐานะผู้มีบทบาทนำในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ กลุ่ม BRICS ถือเป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศตลาดเกิดใหม่ ชื่อมาจากตัวย่อของประเทศเหล่านั้น คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟิรกาใต้ โดยแรกเริ่มจะมีแค่ 4 ประเทศ คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน เป็นกลุ่ม BRIC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 ก่อนที่แอฟริกาใต้ จะมาร่วมในปี 2010 กลายเป็น BRICS ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญของโลก เพื่อท้าทายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมั่งคั่งในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก

กลุ่ม BRICS มีประชากรรวมกันเกินกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของโลก และมีกำลังซื้อรวมกันนำหน้ากลุ่ม จี7 ได้แก่ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐ และสหภาพยุโรป. และคาดว่า น่าจะนำหน้าทิ้งห่างไปอย่างต่อเนื่อง อาจจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของกลุ่มจี7
และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2024 BRICS ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ 5 ประเทศ จากแอฟริกาและตวันออกกลาง คือ อียิปต์, เอธิโอเปีย, อิหร่าน, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งจะถูกเรีรยกว่าเป็น BRICS+ (บริกส์พลัส)
โดยประเทศที่แสดงความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ก็มีทั้งแอลจีเรีย โบลิเวีย และประเทศไทย ซึ่งไทยนั้น ได้เริ่มมีการผลักดันการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS อย่างจริงจัง เมื่อปี 2023
ทั้งนี้ มาตรฐานและหลักเกณฑ์สำหรับการขยายสมาชิกภาพของกลุ่ม BRICS เช่น มีความสัมพันธ์ทางการทูตและความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัฐสมาชิกกลุ่ม BRICS ทั้งหมด ยอมรับถ้อยแถลงและปฏิญญาต่างๆ ของกลุ่ม BRICS เป็นต้น
โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำเนินการยกร่างหนังสือแสดงความประสงค์ฯ โดยระบุวิสัยทัศน์ของไทยที่ให้ความสำคัญต่อระบบพหุภาคีนิยมและการเพิ่มบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของกลุ่ม BRICS
ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการยกรดับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ การเพิ่มบทบาทไทยในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเพิ่มโอกาสให้ไทย ได้ร่วมสร้างระเบียบโลกใหม่
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 31 พฤษภาคม 2567